ครูอ้อย ยินดีต้อนรับ

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิศวกรรมชีวการแพทย์

วิศวกรรมชีวการแพทย์ หรือบางที่เรียกว่า ชีวเวช (biomedical engineering) หรือ วิศวกรรมการแพทย์ (medical engineering) เป็นสาขาวิชาที่นำเอาความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เช่น ความรู้กลศาสตร์ของไหล นำมาใช้กับการทำหัวใจเทียม หลอดเลือดเทียม , แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (mathematical modeling) การแพทย์ และวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อออกแบบ สร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน สามารถใช้งานได้จริง รวมถึงการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อน และต้องการขั้นตอนการผลิตที่มีมาตรฐาน และ ประสิทธิภาพสูง เช่น นำมาอธิบายปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง, ความรู้ทางกลศาสตร์และคอมพิวเตอร์ใช้ในการหุ่นยนต์นำการผ่าตัด เทคโนโลยีในเครื่องมือผ่าตัด เครื่องส่องดูอวัยวะในร่างกาย อุปกรณ์จ่ายยาอัตโนมัติ ข้อต่อหรืออวัยวะเทียม เครื่องวิเคราะห์สัญญาณหัวใจหรือสมอง อุปกรณ์ตรวจสอบระบบน้ำตาลในเลือด ระบบผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ การออกแบบสร้างอุปกรณ์พิเศษที่จำเป็นต่อการบำบัดรักษา การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ไปจนถึงการสังเคราะห์โพลิเมอร์นำส่งยาเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงการศึกษาและใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงทางการแพทย์ต่างๆ ตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายของงานด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่ การสร้างอวัยวะเทียม (Artificial Organs) การสร้างอุปกรณ์ตรวจวัดทางชีววิทยา (Biosensors) เป็นต้น
สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นสาขาวิชาที่บูรณาการศาสตร์ต่างๆ ต่อไปนี้ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นาโนเทคโนโลยี วัสดุศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ แพทยศาสตร์ ชีววิทยา เคมี และ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการนำความรู้เฉพาะทางมาใช้พัฒนาหรือสร้างเครื่องมือ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์
สาขานี้เค้าเรียกกันว่า ' Engineering For Life '

ก็อย่างที่เรารู้กันอยู่ว่า การรักษานั้นต้องใช้เครื่องมือ ตั้งแต่ตรวจหาโรค วิเคราะห์ผล ลงมือทำการรักษา จนถึงการดูแลไม่ให้กลับมาเป็นโรคอีก เครื่องมือ เทคโนโลยีและซอฟท์แวร์ทั้งหมดนั่นแหละค่ะที่วิศวกร สาขานี้ จะเป็นผู้เกี่ยวข้อง
ตอนที่เรายังไม่มีสาขานี้ ก็ต้องใช้วิศวกรในสาขาอื่น (เช่น ไฟฟ้า เครื่องกล คอม ) ซึ่งไม่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะลงไปในเรื่องของชีววิทยาและระบบร่างกายของคน หรือมีหมอเป็นผู้ทำการวิจัยซึ่งไม่มีความสามารถในด้านเทคโนโลยีมากเพียงพอ หรือต้องจ้างวิศวกรชาวต่างชาติมา แต่เราเองก็มีประสิทธิภาพมากพอที่จะพัฒนาในส่วนได้ด้วยตนเองนะคะ อีกทั้งการเกิดโรคในประเทศไทยและต่างชาติก็มีความแตกต่างกันค่อนข้างสูง โรคที่มีเฉพาะทางเมืองร้อนบางโรคจึงยังไม่มีเทคโนโลยีดีๆในการรักษา

สำหรับน้องๆคนไหนที่อยากจะเป็น แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางด้านสาธารณสุขทั้งหลาย เพราะ มีความคิดอยากช่วยเหลือหรือมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพกายและใจของผู้ป่วยทั้งหลายซึ่งก็คือเราๆทุกคน . . . แต่ว่ายังมีความคิดสับสนเพราะไม่ชอบงานในลักษณะนั้น " วิศวกรรมชีวการแพทย์ " ก็คงเป็นอีกทางเลือกที่จะทำให้น้องได้มีส่วนร่วมในการช่วยหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยวิธีและความถนัดของเรา โดยไม่มีข้อจำกัดให้เป็นแค่แพทย์หรือพยาบาล

ซึ่งจากที่กล่าวมาเห็นได้ว่าวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพและด้านการแพทย์ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพคนไทยและคนอื่น


* สาขานี้ใน ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 50 รุ่นที่ 1 เลย มีที่มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ทราบมาว่าอยุ่ในภาควิชาไฟฟ้า) ปีการศึกษา 51 มีที่มศว. องครักษ์แล้วค่ะ
ส่วนของเอกชน มีมหาวิทยาลัยรังสิต ชื่อภาควิชาชีวการแพทย์และคอมพิวเตอร์
ได้ข่าวมาว่ามหาวิทยาลัยอื่นๆกำลังดำเนินการเปิดกันอยู่หลายแห่งทีเดียว

ระดับป.โทและป.เอก
ม.มหิดล เปิดเป็นแห่งแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2541 เปิดมากว่าสิบปีแล้ว
จุฬาฯในชื่อ ชีวเวช
บางมดมีป.โทสาขาที่ใช้ชื่อว่า biological engineering


อีกทั้งยังมีที่เป็นวิทยาศาสตร์บัณฑิต ด้วยนะคะ ชื่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ ของมหาวิทยาลัยนเรศวร และ วิทยาศาสตร์ ชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ป.โทมีที่ จุฬาฯ ชื่อ สหสาขาวิศวกรรมชีวเวช ด้วย


* สายงานที่รองรับมีหลากหลาย

1. เรียนต่อ
ตอนนี้ในประเทศมีหลายที่ให้นักศึกษาสามารถศึกษาต่อได้ อย่างที่มหิดลมีหลักสูตร ป.โท และกำลังจะเปิด ป. เอก และยังมีที่อื่นๆอีกหลายที่เช่น จุฬา บางมด เชียงใหม่ ลาดกระบัง สงขลา ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าสาขานี้กำลังเริ่มเป็นที่รู้จักกัน อย่างเด็กที่จบจาก ป. โท จากสาขานี้ยังไม่ตกงานสักคน และมีบริษัทจากที่ฮ่องกงโทรมาถามว่ามีเด็กจบออกไปอีกไหม อยากได้มาทำงานที่บริษัท และถ้าจะไปเรียนต่อต่างประเทศ สาขานี้มีที่ให้น้องเรียนต่อได้มากมาย สาขาวิชานี้เป็นที่สนใจอย่างมากในต่างประเทศทีเดียว

2. ทำงาน

2.1 ทำงานบริษัท เนื่องจากความรู้ที่เราได้ศึกษาจากสาขานี้เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีได้เอง จึงแตกต่างจากการไปเรียนรู้แค่การใช้งานเครื่องมือเหมือนในสาขาอื่นๆ อย่างสาขาพวกอุปกรณ์การแพทย์ หรือเทคนิคการแพทย์นั้น นักศึกษาจะได้เรียนรู้ว่าเครื่องมือแพทย์นั้นทำงานอะไร แล้วใช้อย่างไร แต่ถ้าจบจากสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์จะทราบถึงการทำงาน และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือเหล่านั้นเพื่อให้เราสามารถพัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือเหล่านั้นได้เอง กล่าวคือเราสามารถสร้างและผลิตอุปกรณ์ที่ทำงานลักษณะนั้นได้เอง โดยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ เพราะฉะนั้นงานที่รองรับนักศึกษา นอกจากจะมีบริษัทด้านการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ บริษัทด้านยา ทั้งฝ่ายผลิต ฝ่ายพัฒนางานวิจัย(R&D) ฝ่ายขายผลิตภัณฑ์ ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายจัดการระบบและเทคโนโลยี ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญในการผลิต

2.2 เปิดบริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เอง เพราะขณะนี้ตลาดด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศเป็นที่ต้องการสูงมาก เนื่องจากเราต้องนำเข้าเครื่องมือแพทย์มาซึ่งมีราคาแพง

2.3 ถ้าผู้เรียนชอบในสายวิชาการ ก็ทำงานตามศูนย์วิจัยซึ่งมีมากมายในปัจุบัน ทั้งส่วนของโรงพยาบาลและของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นmtec, nectec,biotec หรือศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น