ครูอ้อย ยินดีต้อนรับ

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิศวกรรมชีวการแพทย์

วิศวกรรมชีวการแพทย์ หรือบางที่เรียกว่า ชีวเวช (biomedical engineering) หรือ วิศวกรรมการแพทย์ (medical engineering) เป็นสาขาวิชาที่นำเอาความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เช่น ความรู้กลศาสตร์ของไหล นำมาใช้กับการทำหัวใจเทียม หลอดเลือดเทียม , แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (mathematical modeling) การแพทย์ และวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อออกแบบ สร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน สามารถใช้งานได้จริง รวมถึงการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อน และต้องการขั้นตอนการผลิตที่มีมาตรฐาน และ ประสิทธิภาพสูง เช่น นำมาอธิบายปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง, ความรู้ทางกลศาสตร์และคอมพิวเตอร์ใช้ในการหุ่นยนต์นำการผ่าตัด เทคโนโลยีในเครื่องมือผ่าตัด เครื่องส่องดูอวัยวะในร่างกาย อุปกรณ์จ่ายยาอัตโนมัติ ข้อต่อหรืออวัยวะเทียม เครื่องวิเคราะห์สัญญาณหัวใจหรือสมอง อุปกรณ์ตรวจสอบระบบน้ำตาลในเลือด ระบบผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ การออกแบบสร้างอุปกรณ์พิเศษที่จำเป็นต่อการบำบัดรักษา การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ไปจนถึงการสังเคราะห์โพลิเมอร์นำส่งยาเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงการศึกษาและใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงทางการแพทย์ต่างๆ ตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายของงานด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่ การสร้างอวัยวะเทียม (Artificial Organs) การสร้างอุปกรณ์ตรวจวัดทางชีววิทยา (Biosensors) เป็นต้น
สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นสาขาวิชาที่บูรณาการศาสตร์ต่างๆ ต่อไปนี้ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นาโนเทคโนโลยี วัสดุศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ แพทยศาสตร์ ชีววิทยา เคมี และ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการนำความรู้เฉพาะทางมาใช้พัฒนาหรือสร้างเครื่องมือ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์
สาขานี้เค้าเรียกกันว่า ' Engineering For Life '

ก็อย่างที่เรารู้กันอยู่ว่า การรักษานั้นต้องใช้เครื่องมือ ตั้งแต่ตรวจหาโรค วิเคราะห์ผล ลงมือทำการรักษา จนถึงการดูแลไม่ให้กลับมาเป็นโรคอีก เครื่องมือ เทคโนโลยีและซอฟท์แวร์ทั้งหมดนั่นแหละค่ะที่วิศวกร สาขานี้ จะเป็นผู้เกี่ยวข้อง
ตอนที่เรายังไม่มีสาขานี้ ก็ต้องใช้วิศวกรในสาขาอื่น (เช่น ไฟฟ้า เครื่องกล คอม ) ซึ่งไม่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะลงไปในเรื่องของชีววิทยาและระบบร่างกายของคน หรือมีหมอเป็นผู้ทำการวิจัยซึ่งไม่มีความสามารถในด้านเทคโนโลยีมากเพียงพอ หรือต้องจ้างวิศวกรชาวต่างชาติมา แต่เราเองก็มีประสิทธิภาพมากพอที่จะพัฒนาในส่วนได้ด้วยตนเองนะคะ อีกทั้งการเกิดโรคในประเทศไทยและต่างชาติก็มีความแตกต่างกันค่อนข้างสูง โรคที่มีเฉพาะทางเมืองร้อนบางโรคจึงยังไม่มีเทคโนโลยีดีๆในการรักษา

สำหรับน้องๆคนไหนที่อยากจะเป็น แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางด้านสาธารณสุขทั้งหลาย เพราะ มีความคิดอยากช่วยเหลือหรือมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพกายและใจของผู้ป่วยทั้งหลายซึ่งก็คือเราๆทุกคน . . . แต่ว่ายังมีความคิดสับสนเพราะไม่ชอบงานในลักษณะนั้น " วิศวกรรมชีวการแพทย์ " ก็คงเป็นอีกทางเลือกที่จะทำให้น้องได้มีส่วนร่วมในการช่วยหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยวิธีและความถนัดของเรา โดยไม่มีข้อจำกัดให้เป็นแค่แพทย์หรือพยาบาล

ซึ่งจากที่กล่าวมาเห็นได้ว่าวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพและด้านการแพทย์ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพคนไทยและคนอื่น


* สาขานี้ใน ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 50 รุ่นที่ 1 เลย มีที่มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ทราบมาว่าอยุ่ในภาควิชาไฟฟ้า) ปีการศึกษา 51 มีที่มศว. องครักษ์แล้วค่ะ
ส่วนของเอกชน มีมหาวิทยาลัยรังสิต ชื่อภาควิชาชีวการแพทย์และคอมพิวเตอร์
ได้ข่าวมาว่ามหาวิทยาลัยอื่นๆกำลังดำเนินการเปิดกันอยู่หลายแห่งทีเดียว

ระดับป.โทและป.เอก
ม.มหิดล เปิดเป็นแห่งแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2541 เปิดมากว่าสิบปีแล้ว
จุฬาฯในชื่อ ชีวเวช
บางมดมีป.โทสาขาที่ใช้ชื่อว่า biological engineering


อีกทั้งยังมีที่เป็นวิทยาศาสตร์บัณฑิต ด้วยนะคะ ชื่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ ของมหาวิทยาลัยนเรศวร และ วิทยาศาสตร์ ชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ป.โทมีที่ จุฬาฯ ชื่อ สหสาขาวิศวกรรมชีวเวช ด้วย


* สายงานที่รองรับมีหลากหลาย

1. เรียนต่อ
ตอนนี้ในประเทศมีหลายที่ให้นักศึกษาสามารถศึกษาต่อได้ อย่างที่มหิดลมีหลักสูตร ป.โท และกำลังจะเปิด ป. เอก และยังมีที่อื่นๆอีกหลายที่เช่น จุฬา บางมด เชียงใหม่ ลาดกระบัง สงขลา ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าสาขานี้กำลังเริ่มเป็นที่รู้จักกัน อย่างเด็กที่จบจาก ป. โท จากสาขานี้ยังไม่ตกงานสักคน และมีบริษัทจากที่ฮ่องกงโทรมาถามว่ามีเด็กจบออกไปอีกไหม อยากได้มาทำงานที่บริษัท และถ้าจะไปเรียนต่อต่างประเทศ สาขานี้มีที่ให้น้องเรียนต่อได้มากมาย สาขาวิชานี้เป็นที่สนใจอย่างมากในต่างประเทศทีเดียว

2. ทำงาน

2.1 ทำงานบริษัท เนื่องจากความรู้ที่เราได้ศึกษาจากสาขานี้เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีได้เอง จึงแตกต่างจากการไปเรียนรู้แค่การใช้งานเครื่องมือเหมือนในสาขาอื่นๆ อย่างสาขาพวกอุปกรณ์การแพทย์ หรือเทคนิคการแพทย์นั้น นักศึกษาจะได้เรียนรู้ว่าเครื่องมือแพทย์นั้นทำงานอะไร แล้วใช้อย่างไร แต่ถ้าจบจากสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์จะทราบถึงการทำงาน และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือเหล่านั้นเพื่อให้เราสามารถพัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือเหล่านั้นได้เอง กล่าวคือเราสามารถสร้างและผลิตอุปกรณ์ที่ทำงานลักษณะนั้นได้เอง โดยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ เพราะฉะนั้นงานที่รองรับนักศึกษา นอกจากจะมีบริษัทด้านการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ บริษัทด้านยา ทั้งฝ่ายผลิต ฝ่ายพัฒนางานวิจัย(R&D) ฝ่ายขายผลิตภัณฑ์ ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายจัดการระบบและเทคโนโลยี ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญในการผลิต

2.2 เปิดบริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เอง เพราะขณะนี้ตลาดด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศเป็นที่ต้องการสูงมาก เนื่องจากเราต้องนำเข้าเครื่องมือแพทย์มาซึ่งมีราคาแพง

2.3 ถ้าผู้เรียนชอบในสายวิชาการ ก็ทำงานตามศูนย์วิจัยซึ่งมีมากมายในปัจุบัน ทั้งส่วนของโรงพยาบาลและของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นmtec, nectec,biotec หรือศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์เป็นต้น

วัตถุประมีสงค์ใ นการสอบ CU-TEP,CU-AAT-CU-TTP,CU-TMC,CU-TAD,G-MAT, และ CU-ATS

นอกจากนั้นก่อนไปสอบสิ่งที่ควรจะต้องรู้นั้นมีอยู่ 5 ข้อง่ายๆ ดังนี้
1. รู้ตัวเองว่าจะสอบไปเพื่ออะไร ( เรียนคณะอะไร แล้วคณะนั้นต้องการคะแนนสอบตัวนี้หรือไม่ )
2. รู้วิธีการสมัครสอบ
3. รู้คุณสมบัติของผู้สอบ ต้องใช้อะไรบ้าง
4. รู้สถานที่และเวลาสอบ
5. มีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเนิ่นๆด้วยกาอ่านหนังสือและทำข้อสอบเก่าๆเพื่อการไม่เสียตังค์ไปสอบฟรี (จะเสียเงินทั้งทีก็น่าจะทำคะแนนดีๆนะคะ)

CU – TEP วัดจากอะไร ?
การวัดความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาทางทักษะการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูด เนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษทั่วไปและภาษาอังกฤษกึ่งวิชาการ
นำผลสอบไปใช้ทำอะไร ?
ข้อสอบชุดนี้เหมาะสำหรับวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
CU – AAT วัดจากอะไร ?
แบบทอสอบฉบับนี้ใช้วัดความถนัดโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้
1. Math Section ใช้สำหรับวัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ในเรื่องต่อไปนี้
• Arithmeticc
• Algebra
• Geometry
• Problem Solving
2. Verbal Section ใช้สำหรับวัดความสามารถทางด้านภาษาในเรื่องต่อไปนี้
• Understanding how the different parts of a sentence fit logically together
• Finding the meaning of vocabulary in context
• Identifying sentence errors
• Improving sentences and paragraphs
แบบทดสอบส่วนนี้ประกอบด้วย 2 ส่วนย่อย ดังนี้
1. The Critical Reading Section
• Sentence Completion
• Passage - based Reading
2. The Writing Section
• Improving Sentences
• Identifying Sentene Errors
• Improving Paragraphs
นำผลสอบไปใช้ทำอะไร
แบบทดสอบวัดความถนัด CU-AAT ( Chulalongkorn University Academic Aptitude Test ) สำหรับผู้ประสงค์ เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี หลักสูตรภาษาอังกฤษและหลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ค่าสมัครสอบ 800 บาท
หมายเหตุ
1. แบบทดสอบ AAT เป็นข้อสอบแบบตัวเลือกทั้งหมด
2. การคิดคะแนน หากผู้เข้าสอบตอบผิดจะถูกหักข้อละ 0.25 คะแนน

CU-TTP วัดอะไร
แบบสอบฉบับนี้วัดความรู้ภาษาไทยทางด้านการอ่าน การเขียน การฟัง และการอ่านออกเสียงระดับต่างๆ
นำผลสอบไปใช้ทำอะไร
ผู้เข้าสอบสามารถทราบระดับความรู้และทักษะภาษาไทยของตนเองเหมาะสำหรับการเตรียมตัวเพื่อพัฒนาภาษาไทยในการศึกษาและการทำงาน
ค่าสมัครสอบ 400 บาท
CU-TMC วัดอะไร
แบบสอบฉบับนี้วัดความรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารมวลชนทางด้านการอ่านและการเขียน
นำผลสอบไปใช้ทำอะไร
ผู้เข้าสอบสามารถวัดระดับความรู้ของตนเองทางด้านภาษาไทยเพื่อการสื่อสารมวลชนเพื่อเตรียมตนเองศึกษาต่อในสาขานี้
ค่าสมัครสอบ 400 บาท
CU-TAD วัดอะไร
การทดสอบทักษะด้านการออกแบบ
นำผลสอบไปใช้ทำอะไร
สำหรับผู้ประสงค์เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ( หลักสูตร ) นานาชาติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ค่าสมัครสอบ 1,000 บาท
G-MAT วัดอะไร
แบบสอบชุดนี้วัดความรู้และความถนัดด้านคณิตศาสตรทั่วไป โดยใช้ภาษาไทย
นำผลสอบไปใช้ทำอะไร
ผู้เข้าสอบสามารถทราบระดับความรู้และความถนัดของตนเองทางด้านคณิตศาสตร์ เพื่อศีกษาต่อในระดับสูงต่อไป
ค่าสมัครสอบ 500 บาท
CU-ATS วัดอะไร
แบบทดสอบ CU-ATS ( Aptitude Test for Science of Chulalongkorn University) ใช้วัดความถนัดทางวิทยศาสตร์ ประกอบด้วยวิชาฟิสิกส์ และวิชาเคมี
นำผลไปใช้ทำอะไร
สำหรับบคคลที่ต้องการสมัครเข้าศึกษาต่อที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติ
ค่าสมัครสอบ 800 บาท
สำหรับขั้นตอนการลงทะเบียนสมัครสอบนั้นต้องลงทะเบียนทางเว็บไซต์
Website:http;/www.atc.chula.ac.th/index.html
และมีขั้นตอนการลงทะเบียนง่ายๆ สามขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่1 สมัครขอรับlogin ID and password – คลิกที่นี่เพื่อขอ login ID and password
ขั้นตอนที่ 2 ลงทะเบียนสมครสอบรายวิชา ผู้สมัครคีย์ login ID and password เพื่อไปยังหน้าลงทะเบียนรายวิชา
ขั้นตอนที่ 3 ชำระค่าธรรมเนียม ผู้สมัครนำใบลงทะเบียนที่ได้รับจากขั้นตอนที่ 2 และเงินไปชำระค่าธรรมเนียมที่ธนาคาร
ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
02-22183717

แนะนำทุกสาขา-คณะ ม.ศิลปากร

ช่วงนี้เชื่อว่าน้องๆ หลายคนคงหาข้อมูลแต่ละมหาวิทยาลัยกันจ้าละหวั่น เลยนำข้อมูลของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสถาบันที่น้อง ๆ ใฝ่ฝันอยากเข้าเรียนมาให้ดูกันก่อนที่จะตัดสินใจเลือกคณะและสาขาที่ตนเองชอบมากที่สุด..............

*******************************

วังท่าพระ กรุงเทพฯ

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะโบราณคดี
คณะมัณฑนศิลป์

สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

คณะดุริยางคศาสตร์
วิทยาลัยนานาชาติ

ศูนย์ประสานงาน บางรัก กรุงเทพฯ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ และ
ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชา ITธุรกิจ และ ITออกแบบ

วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม

คณะอักษรศาสตร์
คณะศึกษาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
คณะวิทยาการจัดการ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นปีที่ 1 - 3
สาขา ITธุรกิจ และ ITออกแบบ



คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์มีรากฐานมาจากหลักสูตรจิตรกรรมและประติมากรรมของโรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมประติมากรรมเป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2486 เปิดสอนเพียง 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาจิตรกรรม และสาขาวิชาประติมากรรม โดยมีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรก ต่อมาเปิดสอนสาขาวิชาเพิ่มเติมขึ้นอีก 3 สาขาวิชา คือ พ.ศ. 2509 เปิดสาขาวิชาภาพพิมพ์ พ.ศ. 2520 เปิดสาขาวิชาศิลปไทย และเปิดสาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ พ.ศ. 2530

หลักสูตรการศึกษา
อนุปริญญาศิลปบัณฑิต (อนุ.ศบ.)
ปริญญาศิลปบัณฑิต (ศ.บ.)
ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 3 ปี
5 ปี
2 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับอนุปริญญา

ระดับปริญญาบัณฑิต
1. สาขาวิชาจิตรกรรม
2. สาขาวิชาประติมากรรม
3. สาขาวิชาภาพพิมพ์
4. สาขาวิชาศิลปไทย
5. สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาจิตรกรรม
2. สาขาวิชาประติมากรรม
3. สาขาวิชาภาพพิมพ์
4. สาขาวิชาศิลปไทย

สีประจำคณะ สีเหลือง

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ดำเนินการจัดแสดงนิทรรศการด้านศิลปกรรมทั้งของอาจารย์ นักศึกษา และศิลปินที่มีผลงานดีเด่น เพื่อเผยแพร่และเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนเสมอมา รวมถึงโครงการแลกเปลี่ยนต่างๆ ที่เป็นการเสริมสร้างความร่วมมือกับสถาบันที่มีการเรียนการสอนศิลปะทั้งในประเทศและในระดับนานาชาติ ตลอดจนคณาจารย์ของคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ให้ความร่วมมือเป็นกรรมการตัดสินการประกวดผลงานศิลปกรรมให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนงานบริการทางวิชาการอื่นๆ

เว็บไซท์ http://www.finearts.su.ac.th






คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2496 โดยศาสตราจารย์พระพรหมพิจิตร ใช้ชื่อในขณะนั้นว่า "คณะสถาปัตยกรรมไทย" เปิดสอนหลักสูตรการศึกษาระดับอนุปริญญา 3 ปีการศึกษา ต่อมา พ.ศ. 2501 ขยายหลักสูตรการศึกษาถึงระดับปริญญา 5 ปีการศึกษา จนกระทั่ง พ.ศ. 2509 ได้เปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์" และพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัยกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีแผนใหม่ การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2517 โดยเปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง เป็นสาขาวิชาแรก ปัจจุบันคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี 2 สาขาวิชา ปริญญาโท 7 สาขาวิชา รวมทั้งหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก อีก 1 สาขาวิชา

หลักสูตรการศึกษา
อนุปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ (อนุ.สถ.)
ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.)
ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณพิต (วท.ม.)
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณพิต (ปร.ด.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 3 ปี
5 ปี
2 ปี
2 ปี
2 ปี
3 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับอนุปริญญา
1. สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
2. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย

ระดับปริญญาบัณฑิต
1. สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
2. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง
2. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
3. สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาการจัดการงานก่อสร้าง
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
2. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษา
3. สาขาวิชาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว (หลักสูตรนานาชาติ)

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
1. สาขาวิชาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว (หลักสูตรนานาชาติ)

สีประจำคณะ สีเทาอ่อน

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สนับสนุนและส่งเสริมให้คณาจารย์ ผลิตผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ การสนับสนุนงานวิจัยดังกล่าวเป็นการสนับสนุนทางด้านบุคลากร อาคารสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับผู้วิจัย เพื่อให้งานวิจัยสำเร็จผลอันนำไปสู่การพัมนาองค์ความรู้และการประยุกต์ในสาขาวิชาที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะ นอกจากนั้นยังส่งเสริมการผลิตตำรา หนังสือ โดยการจัดสรรงบประมาณให้กับคณาจารย์ ผลิตตำราหนังสือที่มีคุณภาพ เพื่อประโยชน์ทางด้านการเรียนการสอนต่อไป

สำหรับงานบริการทางวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ให้การบริการในรูปแบบต่างๆ แก่สังคม อาทิ การออกแบบอาคารสิ่งก่อสร้าง การวางแผนและผังพัฒนาพื้นที่ การศึกษาเพื่อการพัฒนาในาสาขาวิชาต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว การอนุรักษ์โบราณสถาน สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ฯลฯ นอกจากนั้นยังเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการในรูปแบบการจัดนิทรรศการ การจัดประชุม สัมมนา การฝึกอบรม ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ

เว็บไซท์ http://www.arch.su.ac.th






คณะโบราณคดี
คณะโบราณคดีตั้งขึ้นเป็นคณะที่ 3 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2498 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตนักโบราณคดีไปปฏิบัติงานดูแลรับผิดชอบการอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานอันเป็นมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ตลอดจนปฏิบัติงานสนามทางโบราณคดีให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์เป็นคณบดีคนแรก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 คณะโบราณคดีปรับปรุงการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต โดยขยายขอบเขตการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาอื่นๆ อีก นอกเหนือจากผลิตนักโบราณคดี เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
ประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต)
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด.)
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
1 ปี
2 ปี
5 ปี
5 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
1. สาขาวิชาโบราณคดี
2. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
3. สาขาวิชามานุษยวิทยา
4. สาขาวิชาภาษาไทย
5. สาขาวิชาภาษาตะวันออก
6. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
7. สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส

ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
2. สาขาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
3. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
4. สาขาวิชามานุษยวิทยา
5. สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก
6. สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
7. สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
8. สาขาวิชาเขมรศึกษา
9. สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
1. สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
2. สาขาวิชาภาษาเขมร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
1. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
2. สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์

สีประจำคณะ สีม่วง

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณาจารย์คณะโบราณคดีปฏิบัติงานวิจัยในทุกสาขาวิชาที่เปิดสอน และมีโครงการวิจัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ นอกจากนี้ยังให้บริการวิชาการแก่สังคมในรูปของการจัดการอบรม สัมมนา บรรยาย นิทรรศการต่างๆ ที่เกี่ยวกับสาขาวิชาที่เปิดสอน และจัดทัศนศึกษาทางศิลปวัฒนธรรมให้แก่บุคคลทั่วไป ตลอดจนสนับสนุนให้นักศึกษาจัดกิจกรรม หรือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้นเป็นประจำ

เว็บไซท์ http://www.archae.su.ac.th






คณะมัณฑนศิลป์
คณะมัณฑนศิลป์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2499 ด้วยความริเริ่มของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการศึกษาในเรื่องของศิลปะและการออกแบบทุกลักษณะวิชาชีพ ทั้งในเรื่องของทฤษฎีและการปฏิบัติ เรียกว่าสาขาวิชามัณฑนศิลป์

ปัจจุบัน คณะมัณฑนศิลป์จัดการเรียนการสอนสาขาศิลปะและการออกแบบ โดยผลิตนักออกแบบที่มีความรู้ ความสามารถ ในการสร้างงานออกแบบ ในสาขาวิชาต่างๆ

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาศิลปบัณฑิต (ศ.บ.)
ปริญญาศิลปบัณฑิต (ศ.บ.)
ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 2 ปี (หลักสูตรต่อเนื่อง)
4 ปี
2 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
1. สาขาวิชาการออกแบบภายใน
2. สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
3. สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
4. สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา
5. สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา
6. สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ
หลักสูตรการศึกษา 2 ปี
1. สาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
2. สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาการออกแบบภายใน
2. สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
3. สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา
4. สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา

สีประจำคณะ สีแสด

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะมัณฑนศิลป์ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทำการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ในศาสตร์แขนงต่างๆ ของคณะ และให้ความสำคัญต่อการบริการทางวิชาการแก่สังคม อาทิ การประกวดโฆษณายอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย การออกแบบตกแต่งอาคารอเนกนิทัศน์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดโครงการประกวดออกแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ (Young Designer OTOP Champion) ในโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล ปี 2547 เขตภาคกลางและภูมิภาคตะวันตก และเป็นที่ปรึกษาวางแผนออกแบบและพัฒนาภูมิทัศน์ หมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น

เว็บไซท์ http://www.decorate.su.ac.th






คณะอักษรศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์เป็นคณะวิชาที่ตั้งขึ้นจากนโยบายของมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ต้องการขยายคณะวิชาเพิ่มเติมจากสาขาศิลปะ เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีลักษณะเป็นสากลที่ครอบคลุมสาขาวิชาการหลายสาขา ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรในขณะนั้นจึงเสนอโครงการขยายมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งไปยังบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะอักษรศาสตร์เป็นคณะวิชาแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากรที่จัดตั้งขึ้นที่วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จัดหลักสูตรการเรียนการสอนในลักษณะบูรณาการของสายมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและเป็นผู้ที่พึงประสงค์ของสังคม

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.)
ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.)
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต (อ.ด.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
2 ปี
2 ปี
5 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
1. สาขาวิชานาฏศาสตร์
2. สาขาวิชาสารสนเทศและบรรณารักษศาสตร์
3. สาขาวิชาประวัติศาสตร์
4. สาขาวิชาปรัชญา
5. สาขาวิชาภาษาเกาหลี
6. สาขาวิชาภาษาจีน
7. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
8. สาขาวิชาภาษาไทย
9. สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
10. สาขาวิชาภาษาเยอรมัน
11. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
12. สาขาวิชาภูมิศาสตร์
13. สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา
14. สาขาวิชาสังคีตศิลป์ไทย
15. สาขาวิชาเอเชียศึกษา

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศึกษา
2. สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3. สาขาวิชาฝรั่งเศสศึกษา
4. สาขาวิชาภาษาไทย
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
1. สาขาวิชาภาษาไทย

สีประจำคณะ สีฟ้า

การวิจัยและบริการวิชาการ

คณะอักษรศาสตร์สนับสนุนให้อาจารย์ศึกษาค้นคว้าทำงานวิจัยมาโดยตลอด โครงการวิจัยของอาจารย์คณะอักษรศาสตร์มีทั้งโครงการวิจัยส่วนบุคคลและวิจัยร่วม โครงการวิจัยที่บุคลากรของคณะอักษรศาสตร์ดำเนินอยู่ ได้แก่ "รัสเซียใหม่และลู่ทางความสัมพันธ์กับไทย" "มโนทัศน์เรื่องนาคในบริบททางสังคม" "การอภิปรายถกเถียงทางปรัชญาว่าด้วยความเป็นสมัยใหม่" "อนาคตของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในภาคตะวันตก" นอกจากนี้คณะอักษรศาสตร์ยังสนับสนุนให้อาจารย์จัดทำตำรา เอกสารคำสอน และเขียนบทความทางวิชาการ โดยจัดทำวารสาร "อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ ส่วนการบริการวิชาการแก่สังคม คณะอักษรศาสตร์จัดโครงการบริการทางวิชาการในรูปแบบต่างๆ เป็นจำนวนมากเป็นประจำ เช่น การสัมมนา การอบรมเชิงปฏิบัติการ การบรรยายพิเศษ และการจัดนิทรรศการ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในการจัดโครงการทางวิชาการอื่นๆ เพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและการทนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติอีกด้วย

เว็บไซท์ http://www.arts.su.ac.th






คณะศึกษาศาสตร์
คณะศึกษาศาสตร์เริ่มเปิดสอนตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2513 เป็นคณะวิชาลำดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ในระยะก่อตั้งระหว่าง พ.ศ. 2513 - 2514 มีศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (อธิการบดีของมหาวิทยาลัยศิลปากรในสมัยนั้น) เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งคณบดี ระยะแรกเปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิต วิชาเอก 4 สาขา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังเปิดโรงเรียนสาธิต เพื่อประโยชน์สำหรับการฝึกสอนและฝึกปฏิบัติวิชาชีพของนักศึกษา

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.)
ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.)
ประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต)
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.)
ปริญญาศิลปศาสตรหมาบัณฑิต (ศศ.ม.)
ปริญญาปรัชาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
4 ปี
4 ปี
5 ปี
1 ปี
2 ปี
2 ปี
5 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
หลักสูตรการศึกษา 5 ปี
ศึกษาศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาการประถมศึกษา
2. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
3. สาขาวิชาภาษาไทย
4. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
5. สาขาวิชาสังคมศึกษา
6. สาขาวิชาคณิตศาสตร์
7. สาขาวิชาเคมี
8. สาขาวิชาชีววิทยา
9. สาขาวิชาฟิสิกส์
10. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
ศึกษาศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
2. สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีพ
ศิลปศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาจิตวิทยา
วิทยาศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา

ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์
2. สาขาวิชาชีพครู

ระดับปริญญษมหาบัณฑิต
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง
2. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
3. สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ
4. สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
5. สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
6. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
7. สาขาวิชาการสอนสังคม
8. สาขาวิชาพัฒนศึกษา
9. สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาพิเศษ
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
2. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
1. สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์

สีประจำคณะ สีน้ำเงิน

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะศึกษาศาสตร์มีโครงการพิเศษเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยด้วยวิธีพิเศษ (โครงการสืบสานภาษาไทย) เฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระชนมายุครบ 3 รอบ คณะศึกษาศาสตร์จัดให้มีการบริการทางวิชาการแก่สังคมในรูปแบบต่างๆ อาทิ การประชุม สัมมนา การอบรม การบรรยายพิเศษ ฯลฯ นอกจากนี้คณะศึกษาศาสตร์ยังมีการจัดการเรียนการสอนในลักษณะโครงการพิเศษ ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก

เว็บไซท์ http://www.educ.su.ac.th






คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นคณะที่ 7 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นคณะวิชาแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากรที่เปิดสอนด้านวิทยาศาสตร์ โดยเล็งเห็นถึงความจำเป็นและความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต ระยะแรกเปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตเพียง 2 สาขาวิชา ต่อมาเปิดสอนสาขาวิชาต่างๆ เพิ่มขึ้นอีก เพื่อให้ครอบคลุมวิทยาศาสตร์พื้นฐานทุกสาขาวิชาทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต และระดับปริญญาเอก การจัดการเรียนาอรสอนของคณะวิทยาศาสตร์ จึงสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการเร่งรัดผลิตบัณฑิตสาขาวิชาต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
2 ปี
5 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
1. สาขาวิชาคณิตศาสตร์
2. สาขาวิชาชีววิทยา
3. สาขาวิชาเคมี
4. สาขาวิชาฟิสิกส์
5. สาขาวิชาสถิติ
6. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
7. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
8. สาขาวิชาจุลชีววิทยา
9. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
10. สาขาวิชาสถิติประยุกต์

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาคณิตศาสตร์
2. สาขาวิชาคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. สาขาวิชาสถิติประยุกต์
4. สาขาวิชาชีววิทยา
5. สาขาวิชาเคมีศึกษา
6. สาขาวิชาเคมีอินทรีย์
7. สาขาวิชาเคมีวิเคราะห์
8. สาขาวิชาฟิสิกส์
9. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
10. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ระดับปริญาดุษฎีบัณฑิต
1. สาขาวิชาเคมีอินทรีย์

สีประจำคณะ สีเหลืองทอง

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะวิทยาศาสตร์ทำงานวิจัยในแขนงต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศหลายด้าน อาทิ การวิจัยเพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพในการเกษตรและอุตสาหกรรม การวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีฟิล์มบาง การวิจัยด้านออปโตอิเล็กทรอนิกส์ การวิจัยด้านฟิสิกส์บรรยายและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และยังเป็นศูนย์กลางการพัฒนาครูและนักเรียนทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของโรงเรียนในพื้นที่ภูมิภาคตะวันตก เป็นแหล่งบริการวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การใช้สถิติประยุกต์และระบบคอมพิวเตอร์เก็บและวินิจฉัยข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรมของภูมิภาคตะวันตก ศึกษาวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีและตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์สารชนิดต่างๆ ตลอดจนจัดให้มีการประชุมสัมมนา การอบรม การบรรยายพิเศษ และการแสดงนิทรรศการ

เว็บไซท์ http://www.sc.su.ac.th





คณะเภสัชศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์ได้รับความเห็นชอบให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2526 เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนและกระจายตัวของเภสัชกร โดยเน้นที่ภูมิภาคตะวันตกของประเทศ นับเป็นคณะเภสัชศาสตร์ ลำดับที่ 6 ของประเทศไทย และเป็นคณะวิชาลำดับที่ 8 ที่จัดตั้งขึ้นในมหาวิทยาลัยศิลปากร มีเภสัชกรรองศาสตราจารย์ ดร.ประโชติ เปล่งวิทยา เป็นคณบดีคนแรก มหาวิทยาลัยเริ่มรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2529 เป็นต้นมา

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.)
ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.บ.)
ปริญญาเภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภ.ด.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 5 ปี
2 ปี
2 ปี
5 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
1. สาขาวิชาเภสัชศาสตร์

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
2. สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
3. สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ
4. สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม
5. สาขาวิชาเภสัชเคมี
6. สาขาวิชาเภสัชเวท
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ
2. สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
1. สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ
2. สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม
3. สาขาวิชาเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
4. สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร

สีประจำคณะ สีเขียมมะกอก

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะเภสัชศาสตร์เน้นและสนับสนุนการวิจัยทั้งด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ครอบคลุมแหล่งที่มีของผลิตภัณฑ์ยา การเตรียมและการประดิษฐ์ การประกันและการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ยา เภสัชกรรมคลินิก ระบบเภสัชสนเทศ กลวิธานการป้องกันและการรักษาโรคในคนและสัตว์ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีเภสัชกรรม รวมถึงการวิจัยทางสังคมและชุมชน โดยเน้นการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขร่วมกับสถาบันการศึกษาอื่นของรัฐ กระทรวงสาธารณสุข ภาคเอกชน ตลอดจนความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ

การบริการแก่สังคม คณะเภสัชศาสตร์ได้ดำเนินการมาตลอดในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับยาแก่ประชาชนทั่วไปและพระสังฆาธิการ เช่น การจัดทำโครงการยาน่ารู้ การรักษาตนเองโดยไม่ใช้ยาและการจัดทำจุลสารไภษิชยนิพนธ์ เป็นต้น นอกจากนั้น สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน "เภสัชศาลา" ยังเป็นสถานที่ซึ่งคณาจารย์ของคณะเภสัชศาสตร์มีโอกาสแนะนำการใช้ยาที่เหมาะสมแก่ประชาชน และหน่วยเครือข่ายเภสัชสนเทศของคณะเภสัชศาสตร์เป็นแม่ข่ายให้บริการสนับสนุนข้อมูลทางยาแก่โรงพยาบาลในทุกภูมิภาค รวมถึงหน่วยงานบริการด้านสาธารณสุขและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและประชาชนทั่วไป

นอกจากนี้ คณะเภสัชศาสตร์ จัดตั้งหน่วยพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งได้รับความเห็นชอบให้ขยายโครงการพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์พฤกษ์สมุนไพรไปในพื้นที่อำเภอหัวหินและอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการสร้างงานและผลิตภัณพ์จากพืชสมุนไพร

เว็บไซท์ http://www.pharm.su.ac.th






คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีการขยายการเรียนการสอนในสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยีวิศวกรรม มีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิดการขาดแคลนบุคลากรในสาขาดังกล่าว การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพมาช่วยเสริมในจุดนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในระยะยาวในการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
4 ปี
2 ปี
2 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญาบัณฑิต
วิทยาศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร
2. สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์
2. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
3. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
4. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
5. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร
2. สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์
2. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
3. สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม

สีประจำคณะ สีแดงเข้ม

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมุ่งเน้นงานวิจัยในสาขาวิชาที่มีการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ จนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย และดำเนินงานบริการทางวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

งานวิจัยของสาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ เป็นงานวิจัยที่ผสมผสานความรู้ในหลากหลายสาขาเข้าด้วยกัน อาทิ การผลิตพอลิเมอร์ชนิดพิเศษสำหรับใช้กำจัดคาเฟอีนในกาแฟ การแปรรูปยาง การนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ การสังเคราะห์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ การวิเคราะห์สีและเส้นใย การปรับปรุงพัฒนาความสามารถในการยึดเกาะของวัสดุ การกำจัดคลอเรสเตอรอลในไข่และนม

งานวิจัยของสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร เช่น กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว การใช้วัตถุเจือปนอาหาร เทคนิคการวิเคราะห์อาหารจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์อาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ การใช้ประโยชน์จากมันสำปะหลัง รวมทั้งการแก้ไขปัญหาของโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร งานบริการวิชาการทางด้านระบบควบคุมคุณภาพและประกันคุณภาพอาหาร เช่น HACCP และ ISO 9000

งานวิจัยของสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นงานวิจัยที่สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาประเทศด้านอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค สิ่งแวดล้อม พลังงาน ผลิตภัณฑ์และกระบวนการชีวภาพใหม่ๆ

งานวิจัยของสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ เช่น การวิจัยทางด้านกระบวนการผลิต การบริหารการผลิต ต้นทุนอุตสาหกรรม ความปลอดภัยในอุตสาหกรรม การควบคุมคุณภาพและวิศวกรรมคุณภาพ การบริหารการซ่อมบำรุง การออกแบบเครื่องจักรกล และระบบฐานข้อมูลทางด้านต้นทุนการผลิตของเครื่องประดับของไทยในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม

งานวิจัยของสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีตัวเร่งปฏิกิริยา เทคโนโลยีการควบคุมกระบวนการ เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เทคโนโลยีการแยกมวลสาร เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีสะอาดและความปลอดภัย เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีทางด้านพลังงาน และนาโนเทคโนโลยี เป็นต้น

งานวิจัยของสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำฐานข้อมูล เพื่อการลงทุนของผู้ประกอบการขนาดย่อมและขนาดกลาง เป็นต้น

งานวิจัยของสาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม จะเน้นการนำทฤษฎีทางการจัดการมาผสมผสานกับทฤษฎีทางวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อประยุกต์ใช้ในหัวข้อวิจัย เช่น การบริหารความเสี่ยงของอุตสาหกรรม การบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านวิศวกรรม การบริหารงานโครงการด้านวิศวกรรม การศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนในโครงการภาครัฐและเอกชน เป็นต้น

เว็บไซท์ http://www.eng.su.ac.th






คณะดุริยางคศาสตร์
คณะดุริยางคศาสตร์เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 ภายใต้ชื่อ "โครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2542 นับเป็นคณะวิชาลำดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยศิลปากรมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตดุริยางคศาสตรบัณฑิตที่มีฝีมือเป็นเยี่ยมเทียบเท่าสากล มีความรัก ความเข้าใจ และสามารถเข้าถึงศิลปะการดนตรีได้อย่างลึกซึ้ง

ในปีแรกคณะดุริยางคศาสตร์เปิดสอนเพียงหลักสูตรเดียว คือ ดุริยางคศาสตรบัณฑิต ต่อมาในปีการศึกษา 2543 ได้เปิดสอนหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส เพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตร ปัจจุบัน คณะดุริยางคศาสตร์เปิดสอน 3 หลักสูตร

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
1. สาขาวิชาการแสดงดนตรี
2. สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส
3. สาขาวิชาดนตรีเชิงพาณิชย์

สีประจำคณะ สีชมพู

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะดุริยางคศาสตร์จัดกิจกรรมบริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างสม่ำเสมอในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การจัดฝึกอบรมประกอบการแสดงดนตรี การแสดงดนตรีทั้งของอาจารย์และนักศึกษา เพื่อเผยแพร่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน นอกจากนี้คณะดุริยางคศาสตร์มีนโยบายสนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ การเพิ่มทักษะความรู้และความสามารถก้าวสู่เวทีในระดับนานาชาติ ตลอดจนเพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงและความสามารถของคณะดุริยางคศาสตร์

เว็บไซท์ http://www.music.su.ac.th






คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
มหาวิทยาลัยศิลปากรมีนโยบายในการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาค จึงขยายเขตการศึกษาไปยังวิทยาเขตแห่งใหม่ที่จังหวัดเพชรบุรี ใช้ชื่อว่า วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี และจัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ขึ้นเป็นคณะแรก โดยจุดมุ่งหมายที่จะผลิตบุคลากรทางสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรที่มีพื้นฐานความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในระยะ 4 ภาคการศึกษาแรก และอีก 4 ภาคการศึกษาเน้นการเรียนรู้และการปฏิบัติไปสู่รายวิชาเฉพาะทาง รวมทั้งการฝึกทักษะการปฏิบัติงานให้เกิดความชำนาญในห้องปฏิบัติการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนเสริมสร้างประสบการณ์ในการทำงานในฟาร์มของเกษตรกร เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและเตรียมบัณฑิตให้มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อจบการศึกษา และสามารถที่จะประกอบอาชีพเป็นเจ้าของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ ตามแผนการเรียนที่จัดไว้ให้ในหลักสูตรอย่างผู้ที่มีความรู้ มีความพร้อมที่จะค้นคว้าและประยุกต์ใช้ความรู้แก้ปัญหาและปรับปรุงการทำงานอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2544 จำนวน 120 คน

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
1. สาขาวิชาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
2. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ
3. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
4. สาขาวิชาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์

สีประจำคณะ สีงาช้าง

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรดำเนินโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคมหลายโครงการ อาทิ โครงการวิจัยในการเลี้ยงโคนมและนกกระจอกเทศ โครงการวิจัยนิเวศวิทยาในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน โครงการวิจัยทางสมุนไพรพืชอาหารสัตว์ ฯลฯ โครงการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการจัดการโคนมในระบบฟาร์มมาตรฐาน

เว็บไซท์ http://www.asat.su.ac.th






คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการเริ่มเปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เป็นคณะวิชาที่ 2 ของวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีและเป็นคณะวิชาลำดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต ระยะเวลาการศึกษา 4 ปี จำนวน 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการจัดการชุมชน รับนักศึกษาประมาณปีการศึกษาละ 300 คน คณะวิทยาการจัดการ จัดการเรียนเป็น 2 ระบบด้วยกัน คือ ระบบการเรียนในชั้นเรียนและระบบการเรียนทางไกล ผ่นระบบเครือข่ายสารสนเทศของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

นอกจากนี้ คณะวิทยาการจัดการยังเปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรต่อเนื่อง) ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี จำนวน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการจัดการชุมชน และสาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป

ปณิธานการศึกษา คือ สร้างสรรค์ปัญญา พัฒนาความรู้ เชิดชูจริยธรรม ผู้นำการปฏิบัติ

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)
ปริญญารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
2 ปี (หลักสูตรต่อเนื่อง)
4 ปี
4 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
ศิลปศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
1. สาขาวิชาการจัดการชุมชน
2. สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว
3. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป
หลักสูตรการศึกษา 2 ปี
1. สาขาวิชาการจัดการชุมชน
2. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป
บริหารธุรกิจบัณฑิต
1. สาขาวิชาการตลาด
2. สาขาวิชาการโรงแรมและที่พัก
3. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจและภาษาอังกฤษ
รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

สีประจำคณะ สีฟ้าน้ำทะเล

การวิจัยและบริการวิชาการ

คณะวิทยาการจัดการดำเนินวิจัยและการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เปิดสอนในคณะวิทยาการจัดการ ได้แก่ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการจัดการชุมชน

เว็บไซท์ http://www.management.su.ac.th






คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยศิลปากรได้จัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้น ในปีการศึกษา 2546 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในภูมิภาคตะวันตกของประเทศ อันจะทำให้บัณฑิตที่จบการศึกษา สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงาน พัฒนาความเจริญให้กับชุมชนท้องถิ่น และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนความก้าวหน้าทางธุรกิจได้ โดยเปิดรับนักศึกษาใน 2 สาขาวิชา คือสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ และได้กำหนดแผนการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไปอีกหลายสาขา ได้แก่ สาขาวิชาวิทยุโทรทัศน์ สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง สาขาวิชาภาพยนตร์และวิดีทัศน์ และสาขาวิชาภาพนิ่ง

ปณิธาน คือ สรรค์สร้างนวัตกรรมผู้นำการสื่อสาร บูรณาการเทคโนโลยี

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
ปริญญานิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
4 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
วิทยาศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ
2. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ
นิเทศศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชานิเทศศาสตร์

สีประจำคณะ สีน้ำตาล

การวิจัยและบริการวิชาการ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีนโยบายในการวิจัย แต่คณะยังไม่ได้ดำเนินการ ส่วนการบริการวิชาการได้ดำเนินการในระดับหนึ่ง คือ ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่ติดต่อขอให้คณาจารย์ไปบรรยายและเป็นที่ปรึกษาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เว็บไซท์ http://www.ict.su.ac.th






วิทยาลัยนานาชาติ
เมื่อปี พ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยศิลปากรซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอันดับหนึ่งในห้าของประเทศไทย ได้จัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติขึ้นโดยมีจุดประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติเพื่อพัฒนาบัณฑิตซึ่งมีศักยภาพสู่ตลาดแรงงานซึ่งมีภาวะการแข่งขันสูงได้ ปัจจุบันวิทยานานาชาติเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ 3 หลักสูตร จัดการเรียนการสอน ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการโรงแรม (ปริญญาร่วมสองสถาบัน)

เป็นหลักสูตรร่วมระหว่างวิทยานานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันวาแตล ซึ่งได้รับการจัดอันดับเป็นสถาบันด้านการโรงแรมอันดับหนึ่งของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2546 นักศึกษาจะสามารถพัฒนาความรู้สู่ศักยภาพสูงสุดได้โดยการสอนอันมุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถนำทฤษฎีมาปรับใช้กับประสบการณ์จริงทั้งในสถานที่ปฏิบัติการของวิทยาเขตและในโรงแรมชั้นนำในบริเวณใกล้เคียง
ปีที่ศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
1 ทฤษฎีในประเทศไทย ฝึกงาน ในประเทศไทย
2 ทฤษฎีในประเทศไทย ฝึกงาน ในประเทศไทย
3 ทฤษฎีในประเทศไทย ฝึกงาน ในประเทศฝรั่งเศส
4 ทฤษฎีในประเทศไทย ฝึกงาน ในทวีปยุโรป

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาการออกแบบมัลติมีเดีย (ปริญญาร่วมสองสถาบัน)

เป็นหลักสูตรร่วมระหว่างวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันศิลปะและการออกแบบเบอร์มิ่งแฮม ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์รวมของการศึกษาด้านศิลปะการออกแบบและสารสนเทศชั้นนำของประเทศอังกฤษมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2386 จัดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากรและสถาบันศิลปะและการออกแบบเบอร์มิ่งแฮม และผู้เชี่ยวชาญในสาขาจากองค์กรต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการออกแบบมัลติมีเดีย ซึ่งรวมถึง การออกแบบสิ่งพิมพ์ ภาพประกอบ การถ่ายภาพ แอนิเมชั่น และภาพเคลื่อนไหว

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว (ปริญญาร่วมสองสถาบัน)

เป็นหลักสูตรซึ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ทักษะด้านการบริหารจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้บริหารธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยว โดยผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาร่วมจากมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวาแตล และมหาวิทยาลัยแปร์ปิญญอง ประเทศฝรั่งเศส
ปีที่ศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
1 ทฤษฎีในประเทศไทย ฝึกงาน ในประเทศไทย
2 ทฤษฎีในประเทศไทย ฝึกงาน ในประเทศฝรั่งเศส

สีประจำคณะ สีแดงสด

เว็บไซท์ http://www.suic.org

ระเบียบการ บัญชี มธ.

ข้อมูลการรับสมัครบุคคลเพื่อเข้าศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โครงการรับตรง
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มธ.
คุณสมบัติผู้สมัคร
1. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.6 หรือ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า
2. มีผลการเรียนอยู่ในระดับดี โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไม่ต่ำกว่า 2.50 ทั้งนี้ผู้สมัครสอบที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม. 6 คะแนนเฉลี่ยสะสมคำนวณจากผลการเรียน 5 ภาคการศึกษา คือ ตั้งแต่ ม.4 ภาค 1 จนถึง ม.6 ภาค 1 และผู้สมัครที่ไปศึกษาระดับมัธยมปลาย ณ ต่างประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ให้คำนวณผลการเรียนเฉพาะภาคที่ได้ศึกษาในประเทศไทย ทั้งนี้ต้องยื่นเอกสารแสดงการไปศึกษาต่างประเทศในวันสอบสัมภาษณ์
3. เป็นผู้ที่ตั้งใจจะเข้าศึกษาในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลักเกณฑ์การคัดเลือกให้เข้าศึกษา
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะพิจารณาคัดเลือกผู้มีสิทธิเข้าศึกษาตามลำดับคะแนนรวม ที่ประกอบด้วยคะแนน SMART-I และคะแนนสอบสัมภาษณ์ตามค่าน้ำหนักคะแนนดังนี้
คะแนน SMART-I ร้อยละ 95
ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ ร้อยละ 30
ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ร้อยละ 30
ความสามารถด้านการอ่าน ร้อยละ 25
ความรู้รอบตัว ร้อยละ 10
คะแนนสอบสัมภาษณ์ ร้อยละ 5
รวม 100
อย่างไรก็ตาม คณะพาณิชย์ฯ ให้ความสำคัญกับคะแนนทุกส่วน ดังนั้น ผู้ที่จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกต้องมีคะแนน SMART-I และคะแนนสอบสัมภาษณ์สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ ดังนี้คือ
1. คะแนนแต่ละส่วนของ SMART-I (จากการสอบครั้งเดียวกัน) ต้องไม่น้อยกว่า 30 คะแนน
2. คะแนนรวมเมื่อแปลงเป็นคะแนนสำหรับโครงการรับตรง ตามค่าน้ำหนักข้างต้นแล้วไม่น้อยกว่า 47.5 คะแนน จาก 95 คะแนน (ใช้โปรแกรมแปลงคะแนนที่ http://smart.bus.tu.ac.th )
คณะกรรมการโครงการรับตรงขอสงวนสิทธิกำหนดจำนวนผู้เข้าสัมภาษณ์ตามที่เห็นสมควร
ขั้นตอนการสมัครโครงการรับตรง
1. ตรวจสอบว่ามีผลคะแนน SMART-I สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ และเป็นคะแนนที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี
นับจากวันสอบถึงวันสมัคร
2. สมัครโครงการรับตรงทางอินเทอร์เน็ต ที่ www.reg.tu.ac.th (พร้อมคณะฯ อื่น) ใน โดย
• ระบุครั้งที่ของการสอบ SMART-I ทุกครั้งที่เคยสอบและโครงการรับตรงจะประสานงานกับ
SMART Center เพื่อขอคะแนนที่ดีที่สุดของผู้สมัครทุกคน
• เลือกหลักสูตรที่ต้องการเข้าศึกษาเพียง 1 หลักสูตร จาก 4 หลักสูตร คือ
- หลักสูตร 4 ปี - การบัญชี (รังสิต)
- หลักสูตร 4 ปี - บริหารธุรกิจ (รังสิต)
- หลักสูตร 5 ปี ตรี-โท - การบัญชี (ท่าพระจันทร์)
- หลักสูตร 5 ปี ตรี-โท - บริหารธุรกิจ (ท่าพระจันทร์)
ติดต่อสอบถามรายละเอียดโครงการรับตรง
สอบถามรายละเอียดโครงการรับตรงเพิ่มเติมได้ที่ โทร.02-696-5754 , 02-6965756 , 02-696-5730-31
และ 02-226-4503
การสอบ SMART-I
ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับวันสอบและการสมัครได้จาก http://smart.bus.tu.ac.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ทดสอบทักษะด้านการจัดการ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โทรศัพท์ : 02-613-2199 , 02-224-9730 , 02-226-4511 E-mail: smart@tu.ac.th

กำหนดการสอบ SMART - I

ครั้งที่ รับสมัคร วันสอบ
1 ประมาณ14 เม.ย. - 8 พ.ค. ประมาณ25 พ.ค.
2 ประมาณ19 พ.ค. - 11 มิ.ย. ประมาณ29 มิ.ย.
3 ประมาณ16 มิ.ย. - 6 ก.ค. ประมาณ27 ก.ค.
4 ประมาณ14 ก.ค. - 3 ส.ค. ประมาณ17 ส.ค.
5 ประมาณ11 ส.ค. - 31 ส.ค. ประมาณ14 ก.ย.
จำนวนรับ ประจำปีการศึกษา 2552
สาขาวิชา สอบผ่านโครงการ
รับตรง สอบผ่าน สกอ. รวม
- หลักสูตร 4 ปี - การบัญชี (รังสิต) 90 30 120
- หลักสูตร 4 ปี - บริหารธุรกิจ (รังสิต) 180 60 240
- หลักสูตร 5 ปี ตรี-โท - การบัญชี (ท่าพระจันทร์) 45 45 90
- หลักสูตร 5 ปี ตรี-โท - บริหารธุรกิจ (ท่าพระจันทร์) 30 30 60
รวม 345 165 510

10 วิธีดูแลสมอง

เทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นก้าวหน้าไปไกลมาก วิวัฒนาการใหม่ๆ เข้ามามีส่วนช่วยให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น แต่การที่คนเราสะดวกสบายมากขึ้น ก็ทำให้ใช้สมองน้อยลงและพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น แต่สมองนั้นเหมือนมีดที่ยิ่งลับยิ่งคม ยิ่งไม่ได้ใช้ยิ่งทื่อ สุขภาพกายฉบับนี้จึงมีวิธีดูแลสมองของเราให้พัฒนาอยู่ตลอดเวลามาฝากกัน

กินเพื่อสมองดี

หลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่า "กินอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น" ทั้งๆ ที่รู้ แค่คนส่วนใหญ่ก็มักจะละเลยอาหารเช้า เพราะความเร่งรีบที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน การกินอาหารเข้านั้นจะทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยในเรื่องภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากอดอาหารมาตลอดคืน หากใครที่กินอาหารเช้าเป็นประจำก็จะทำให้ความจำดีขึ้น อย่างไรก็ตามควรเลือกกินอาหารที่ดี และงดอาหารขยะอย่างเด็ดขาด

คิดเพื่อสมองดี

ลองสังเกตว่าวันไหนที่เราตื่นขึ้นตอนเช้า แล้วรู้สึกว่าอารมณ์ดี วันนั้นเราจะรู้สึกดีไปตลอดวัน แต่ถ้าวันไหนเรารู้สึกเบื่อๆ หรือเจอเรื่องแย่ๆ แต่เช้า ความรู้สึกนี้ก็จะคิดตัวไปตลอดทั้งวัน ทำอะไรก็จะติดขัดไปหมด ดังนั้นหากอยากให้มีแต่เรื่องดีๆ เกิดขึ้น และทำให้สมองรู้สึกปลอดโปร่งคิดอะไรออก ก็ต้องคิดถึงแต่เรื่องดีๆ ส่วนเรื่องร้ายๆ ก็ลืมมันซะ

พักผ่อนหันหาอากาศบริสุทธิ์

การพักผ่อนหย่อนใจหลังจากทำงานหนัก ถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะสมองจะได้พักผ่อนจากเรื่องสำคัญมากๆ และเรื่องราวความเครียดต่างๆ ที่ต้องเจออยู่เป็นประจำ ในหนึ่งปี อาจจะมี 2-3 วัน ที่คุณควรเลือก ที่จะเดินทางไปต่างจังหวัด เพื่อหาที่พักตากอากาศแบบสบายๆ เงียบสงบ ให้สมองได้พักผ่อน รวมทั้งหาอากาศที่ปราศจากมลพิษ เพื่อเติมพลังให้สมอง

เรียนรู้สิ่งใหม่

การพัฒนาสมองให้ได้ผลดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ พยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา จะได้พัฒนาสมอง เช่น เทคโนโลยีใหม่ๆ เรื่องราวการแพทย์ใหม่ๆ หรือแม้กระทั่งเมนูอาหารอร่อยๆ ที่คุณไม่เคยลอง ก็ถือว่าเป็นการทำให้สมองได้พัฒนาเช่นกัน การเล่นเกมส์ปริศนาอักษรไขว้ หรือสแครบเบิล ก็สามารถที่จะทำให้ความจำดีขึ้นได้ถึง 40% (จากผลการทดลองของอาสาสมัครในรายการบีบีซี ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2549)

เขียนหนังสือด้วยมือที่ไม่ถนัด

การเขียนถือเป็นการพัฒนาสมองได้เหมือนกัน เพราะสมองซีกซ้ายของเรานั้นเป็นส่วนบังคับการเขียน หากใครที่ถนัดมือไหนอยู่ ก็ให้หัดลองใช้มืออีกข้างเขียนหนังสือ หรือวาดภาพ เพื่อให้สมองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ เพิ่มเติม และยังมีส่วนช่วยให้ความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นด้วย

ยิ้มไว้โลกจะแตกก็ยิ้มไว้

เวลาที่เราทำอะไรก็ตาม หากเรายิ้มคนรอบข้างก็จะได้รับทราบถึงความรู้สึกดีๆ ของเรา แต่ควรจะยิ้มจากภายใน ไม่ต้องฝืน เพราะแววตาของรอยยิ้มนั้นหลอกกันไม่ได้ หากคุณรู้จักที่จะยิ้ม ก็จะทำให้สมองมีแต่เรื่องดีๆ มีความสุข การยิ้มอย่างเป็นประจำและต่อเนื่องมีโอกาสที่ร่างกายจะหลั่งเอ็นโดรฟินออกมา ซึ่งสารนี้จะไปออกฤทธิ์ให้ม่านตาขยายและทำให้ตาเป็นประกาย

หายใจช่วยให้สมองใส

การหายใจอย่างถูกวิธี มีส่วนช่วยพัฒนาสมองให้ได้ผลดีมากทีเดียว เพราะสมองของเรานั้นใช้ออกซิเจนมากถึง 20-25% ของทั้งหมดที่เข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นหากเรารู้จักหายใจ เข้า-ออก ช้าๆ ลึกๆ เพียงแค่วันละ 15 นาที ก็จะทำให้สมองได้รับพลังงานอย่างเต็มเปี่ยม

เข้านอนแต่หัวค่ำ

ภายในร่ายกายคนเรามีนาฬิกาชีวภาพอยู่ ดังนั้นหากเราเข้านอนในช่วงเวลาที่ร่างกายหลั่งสารเมลาโทนิน ก็จะทำให้ร่ายกายและสมองได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่

นั่นสมาธิ จิตมีพลัง

การนั่งสมาธิ จะส่งผลให้สมองเข้าสู่ช่วงที่เป็นคลื่น Theta (ธีค้า หรือการที่สมองได้เข้าสู่การเข้าสมาธิแบบลึก) ทำให้สมองได้ผ่อนคลายสุดๆ และเกิด Mental Imagery (ภาพจินตนาการที่สมองสร้างขึ้น) ส่งผลให้สมองเกิดความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการที่ดีออกมา ทำให้สามารถแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างสร้างสรรค์

เสริมวัตามิน กินไขมันดี

กินไขมันดี หรือที่เราเรียก โอเมก้า 3 เพื่อเข้าไปทดแทนส่วนของสมองที่เป็นในไขมันที่สึกหรอไป นอกจากนี้ยังมีวิตามินบำรุงสมองอื่นๆ อีก เช่น สารสกัดจากใบแปะก๊วย วิตามินบี1 บี6 บี12 น้ำมันพริมโรสที่ช่วยให้เซลล์ชุ่มน้ำและวิตามินซีที่ทำให้กระปรี้กระเปร่า

ทายนิสัยจากธาตุประจำตัว

ลักษณะและนิสัยของชาวธาตุ


ธาตุดิน คือ ผู้ที่เกิดในเดือนตุลาคม , พฤศจิกายน , ธันวาคม

ลักษณะและนิสัย
รูปร่างใหญ่ เจ้าเนื้อ น้ำหนักเพิ่มง่ายแต่ลดยาก คิ้วหนา ขนตายาว ตาโต ริมฝีปากใหญ่ ฟันขาวเรียงตัวสม่ำเสมอ ผมดกดำหนา เล็บใหญ่แข็งแรงมีสีอมชมพู พูดดังฟังชัด
มีความอดทนได้ดีทุกสภาพ ทั้งอากาศและการทำงานหนัก มีจิตใจอ่อนโยน รักสงบและหนักแน่น รักการประนีประนอม เรียนรู้ช้าแต่ความจำดี เวลานอนจะหลับสนิทนาน และไม่ค่อยฝัน ชอบเป็นผู้ตามมากกว่าผู้นำ ชอบทำมากกว่าพูดและเคลื่อนไหวค่อนข้างช้า



ธาตุน้ำ คือ ผู้ที่เกิดในเดือนกรกฎาคม , สิงหาคม , กันยายน

ลักษณะและนิสัย
รูปร่างสมส่วน ผิวพรรณสดใส ตาหวานเพราะมีน้ำในตามาก ผมดกดำงาม ทนหิว
ร้อนและเย็นได้ดี เสียงโปร่ง และท่าทางการเดินที่มั่นคง
อารมณ์เย็น ความจำดี พูดจานุ่มนวล และมักจะเก้บความรู้สึกได้ดี มีความเชื่อใน
เรื่องโชคลาง มีความคิดสร้างสรรค์มาก และเป้นคนรักเพื่อน





ธาตุลม คือ ผู้ที่เกิดในเดือนเมษายน , พฤษภาคม , มิถุนายน

ลักษณะและนิสัย
รูปร่างโปร่ง ผิวแห้ง แพ้ง่าย ดวงตาค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของใบหน้า
และศีรษะ ถ้าพักผ่อนไม่พอขอบตาจะคล้ำไม่สดใส ฟันเรียงตัวไม่เสมอกันมักบิ่นหรือ
ผุง่าย เสียงแหบ ข้อกระดูกสั้น ทนร้อนและหนาวไม่ค่อยได้
เป็นคนคิดเร็วและทำอะไรต่างๆรวดเร็ว คล่องแคล่ว ว่องไว โกรธง่ายหายเร็ว รู้จัก
อ่อนน้อมถ่อมตัว เรียนรู้ได้เร็วแต่ขี้ลืม





ธาตุไฟ คือ ผู้ที่เกิดในเดือนมกราคม , กุมภาพันธ์ , มีนาคม

ลักษณะและนิสัย
รูปร่างผอมบางถึงสมส่วน ผมหงอกเร็วก่อนวัย ผมและขนดกปาน
กลางค่อนไปทางสีน้ำตาลอมแดง เส้นเล็กละเอียด ส่วนมากมักหัวล้าน มีไฝ่ฝ้าหรือ
รอยด่างดำตามผิวหนัง ใบหน้าได้สัดส่วน แววตาคม ปากแดง ฟันเรียงตัวสม่ำเสมอ
และเล็บเรียวอ่อนนุ่มโค้งมนได้รูปสวยงาม
รักการเป็นผู้นำ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กระตือรือร้น ชอบ แข่งขัน จริงจัง ใจร้อน แต่เป็นคนมองโลกในแง่ดี และมีเหตุผล

แนะทางเลือกให้น้อง ๆ ม.6 เตรียมเลือกสาขา

น้องๆ เคยสงสัยกันไหมว่าเรียนอะไรที่จบแล้วหางานง่าย มีรายได้ดี จบออกมาแล้วสามารถทำงานพร้อมทั้ง ประกอบอาชีพได้เลย และเป็นอาชีพที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต ไม่ใช่จบมาแล้วได้แค่ใบปริญญา มีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาเกินกว่าตำแหน่งงานว่างที่เปิดรับสมัคร จะทำงานแต่ละครั้งต้องเริ่มต้นฝึกฝนกันใหม่ ส่งผลให้เกิดการจ้างงานที่ต่ำกว่าวุฒิการศึกษา หากเตรียมตัวกันตั้งแต่วันนี้ มาศึกษาดูอาชีพ สาขาแห่งอนาคตกันเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกคณะ เพื่อศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย จบออกมาแล้วจะได้หางานง่าย และมีรายได้ที่ดีค่ะ

1. กระแสความนิยม Inter
ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทำให้โลกกลายเป็นดวงดาวที่ไร้พรมแดน ผู้คนสามารถทำการค้าขายได้ทั่วโลก ดังนั้นการเรียนการเรียนเพื่อตอบสนองความต้องการของโลกด้านนี้จึงน่าสนใจอย่างยิ่ง อาชีพในอนาคตของสาขานี้ได้แก่
อาชีพล่าม มัคคุเทศก์
อาชีพนักแปล
อาชีพนักธุรกิจระหว่างประเทศ
นักกีฬาอาชีพ
อาชีพเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี

2. กระแส E-commerce
ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย กระแส E-commerce สามารถปฏิวัติการค้าขายแบบเก่าๆ ได้อย่างชิ้นเชิง เพราะมีต้นทุนที่ต่ำ แต่รายได้สูง จึงเป็นสาขาและอาชีพที่จำเป็นต่อโลกนี้อย่างแน่นอน อาชีพในอนาคตของสาขานี้ได้แก่
อาชีพ Webmaster
อาชีพ Programmer
อาชีพ Graphic Design
อาชีพ วิศวกร ซอฟต์แวร์
อาชีพนักบิน

3. กระแสการขาดแคลนพลังงาน Energy
ทรัพยากรของโลกมีจำนวนจำกัด และกำลังจะมีปัญหาขาดแคลน การศึกษาในเรื่องการจัดการทรัพยากร การค้นคว้าพลังงานใหม่ๆ และการจัดการสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสาขาที่มีอนาคตอย่างยิ่ง อาชีพในอนาคตของสาขานี้ได้แก่
อาชีพ วิศวกร ปิโตรเคมี
อาชีพ วิศวกร นาโน
อาชีพ นักธรณีวิทยา
อาชีพ วิศวกร เครื่องกล
อาชีพ นักเทคโนฯ ชีวภาพ

4. กระแสความนิยม Center
กระแสที่เกิดจากการรวมกลุ่มเป็นศูนย์กลางแรงงาน และศูนย์กลางแรงงานและศูนย์กลางผลิตสินค้าเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับประเทศคู่ค้า จะทำให้เกิดการสร้าง การผลิตสินค้านานาชาติขึ้น อาชีพในอนาคตของสาขานี้ได้แก่
อาชีพผู้นำเข้าและส่งออก
อาชีพนักการฑูต
อาชีพนักกฎหมายระหว่างประเทศ

5. กระแสความความตื่นตัว ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คนไทยเริ่มตื่นตัวในการใช้ชีวิตแบบพอเพียง เริ่มตระหนักถึงของดีที่บรรพชนคิดไว้ให้ และนำมาประยุกต์กับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งวัฒนธรรม กีฬา วิถีชีวิตของคนไทยจะกลายเป็นอาชีพที่หารายได้เข้าประเทศ อาชีพในอนาคตของสาขานี้ได้แก่
อาชีพนักวิทยาศาสตร์
อาชีพนักวิจัย
อาชีพนักออกแบบผลิตภัณฑ์
แพทย์แผนไทย , จีน

6. กระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น Social
เมื่อวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้า คนในสังคมรู้จักการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี ผู้สูงอายุจะก้าวทันเทคโนโลยีและคำนึงถึงคุณภาพชีวิตตนเองมากขึ้น ธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุจะสามารถทำเงินได้ในอนาคต อาชีพในอนาคตของสาขานี้ได้แก่
แพทย์
ทันตแพทย์
เภสัชกร
พยาบาล
อาชีพด้านสุขภาพ

7. กระแสนวัตกรรม
กระแสนี้จะเป็นการศึกษา วิจัย บูรณาการ ศาสตร์ด้านการสื่อสาร คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี การจัดการเชิงธุรกิจ ศิลปะ เข้าด้วยกัน เพื่อก่อให้เกิดการคิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ สาขานี้จึงเป็นที่ต้องการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อาชีพในอนาคตของสาขานี้ได้แก่
อาชีพที่เรียนเกี่ยวกับสาขาวิทยาศาสตร์
อาชีพที่เรียนเกี่ยวกับสาขาการออกแบบภายใน
อาชีพที่เรียนเกี่ยวกับสาขาภาพยนต์และวีดีโอ
อาชีพที่เรียนเกี่ยวกับสาขาการศึกษาการออกแบบ

วิเคราะห์ข้อมูลโดย ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
ที่มา: พ็อคเก็ตบุค สาขาแห่งอนาคต

ต้นไม้มงคลกับวันเกิด

คนเกิดวันอาทิตย์
มักมีความมุ่งมั่นสูง มีความรู้ความสามารถเป็นผู้นำ และชอบช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ จริงใจ สุภาพอ่อนโยน แต่ก็อารมณ์ร้อน โมโหง่าย ประเภทโกรธง่ายหายเร็ว ความรักคือความท้าทาย สำหรับคนเกิดวันอาทิตย์ รักใครง่ายแต่ก็รักจริง และมักมีดวงในเรื่องของความรัก จนดูเป็นคนเจ้าชู้ คนเกิดวันอาทิตย์ควรระวังในเรื่องความใจร้อน เชื่อคนง่าย และเรื่องการใช้จ่ายเงิน เพราะเป็นคนใจกว้าง

โดยทั่วไป สีของวันอาทิตย์คือสีแดง แต่ไม้มงคลของคนที่เกิดวันอาทิตย์เป็นดอกไม้ที่มีสีเหลืองหรือสีส้ม ซึ่งเป็นสีแห่งความสว่างไสวตลอดกาล เป็นสิริมงคลและช่วยสร้างเสริมบารมีอย่างยิ่งสำหรับคนที่เกิดวันอาทิตย์เช่น ราชพฤกษ์ ดาวกระจาย เข็ม กุหลาบ ทองกวาว





คนเกิดวันจันทร์
เป็นคนมีเสน่ห์ เจ้าชู้เงียบ สุภาพอ่อนหวาน กิริยางดงาม พูดจาไพเราะ มีน้ำใจ แต่โมโหร้าย ชอบแต่งตัว มีความพิถีพิถันละเอียดรอบคอบ ช่างเอาใจผู้อื่นและชอบให้ผู้อื่นเอาใจ คนเกิดวันจันทร์ ควรลดความวิตกกังวลลงบ้าง และควรระวังเรื่องการใช้จ่าย เรื่องการคบคน และอย่าตามใจตัวเองมากจนเกินไป (วันเสาร์กะวันจันทร์คล้ายๆ กัน)


คนเกิดวันเสาร์
เป็นคนที่มีจิตใจเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยวอดทน และเอาจริงเอาจังกับทุกสิ่ง คิดอะไรถี่ถ้วน จนดูเป็นคนกังวล กิริยามารยาทดี เข้าสังคมเก่ง ชอบแสวงหาอะไรใหม่ๆ หัวแข็งและดื้อเงียบ คนที่เกิดวันเสาร์ควรลดความห้าวหาญลง รับฟังความคิดเห็นของคนอื่นบ้าง

โดยทั่วไป สีของวันจันทร์คือสีเหลือง และสีของวันเสาร์คือสีม่วง แต่พรรณไม้มงคลของคนที่เกิดวันจันทร์และวันเสาร์ จะเป็นพรรณไม้ที่มีดอกสีขาว สีครีม หรือสีเหลือง ซึ่งเป็นสีดอกไม้ที่โฉลกตามตำราโบราณ และเชื่อว่าจะเสริมบารมี ความเป็นสิริมงคลให้คนที่เกิดวันจันทร์และวันเสาร์ อย่างยิ่ง ต้นไม้ประจำสองวันนี้คือ ต้นพิกุล ไทรย้อย ราตรี และลำดวน




คนเกิดวันอังคาร
เป็นคนแข็งแรง กล้าหาญ เป็นนักต่อสู้ทั้งกายและใจ ตรงไปตรงมา ถือความจริงใจเป็นหลัก จนดูเหมือนมีบุคลิกที่ก้าวร้าว ชอบงานอิสระที่ไม่ต้องการความประณีต เป็นคนแข็งนอกอ่อนใน เมื่อรักใครก็ไม่ค่อยแสดงท่าที แต่เป็นคนรักจริงและมั่นคงในความรัก คนเกิดวันอังคารควรระวังเรื่องความใจร้อนวู่วาม และควรวางแผนเรียบเรียงทางความคิดให้ดี

ไม้มงคลสำหรับคนเกิดวันอังคาร เป็นไม้ที่มีดอกสีแดง ชมพู หรือชมพูอมม่วง เป็นสีที่เสริมบารมีและสิริมงคลให้แก่คนที่เกิดวันอังคารตามหลักโหราศาสตร์โบราณเป็นอย่างมาก เช่น บัว อัญชัน ต้นรัก อินทนิลน้ำและ เอื้องเข็มม่วง(กล้วยไม้)





คนเกิดวันพุธ
มีศิลปะในการพูดคุย มีไหวพริบดี มีน้ำใจไมตรี ชอบเห็นคนรอบข้างมีความสุข เป็นคนช่างฝัน และมีโลกส่วนตัวสูง ถ้าคิดจะรักใครก็จะมั่นใจแล้วว่าใช่ และเป็นความรักแบบค่อยเป็นค่อยไป ผูกพันลึกซึ้ง คนเกิดวันพุธควรระวังเรื่องการใจอ่อน ใจดี ใจกว้าง และเชื่อคนอื่นง่ายจนเกินไป

ไม้มงคลสำหรับคนที่เกิดวันพุธคือ ไม้ดอกที่มีสีเขียวอมเหลืองหรือสีเหลืองจะช่วยเสริมสิริมงคลให้คนเกิดวันพุธยิ่งนัก เช่น กระดังงา ขี้เหล็ก โกสน วาสนา




คนเกิดวันพฤหัสบดี
จะมีรูปร่างสง่างามทั้งชายและหญิง มีสติปัญญาเป็นเลิศ ละเอียด ลึกซึ้งใฝ่หาความรู้ พูดจาฉะฉานมีหลักการ มุ่งมั่น และทะเยอทะยานสูง โกรธง่ายหายเร็ว วางแผนอย่างรอบคอบและอดทนรออย่างใจเย็น เป็นคนรักจริงเกลียดจริง เข้ากับคนง่ายแต่ไม่รักใครง่ายๆ แต่เมื่อรักแล้วก็จะรักอย่างซื่อสัตย์

โดยทั่วไป สีของวันพฤหัสบดี คือสีแสด แต่ไม้มงคลสำหรับคนเกิดวันพฤหัสบดี คือไม้ที่มีดอก
สีขาวบริสุทธิ์ เป็นสีที่เสริมสร้างบารมี และเป็นสิริมงคลความรุ่งโรจน์ สำหรับผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดีอย่างยิ่ง เช่น พุดพชยา โมก มะลิลา แก้ว





คนเกิดวันศุกร์
มักเป็นคนที่มีบุคลิกดี อ่อนหวานอ่อนน้อม รักสวยรักงาม ชอบความหรูหรา ขี้น้อยใจแต่จิตใจดี มีน้ำใจเมตตาต่อผู้อื่น คนเกิดวันศุกร์มักมีชีวิตพัวพันอยู่กับความรัก ให้ความสำคัญกับความรักและคนรักมากเป็นพิเศษ เป็นคนโรแมนติก แต่ก็มักไม่สมหวังในความรัก

โดยทั่วไป สีของวันศุกร์ คือสีฟ้า แต่ไม้มงคลสำหรับคนที่เกิดวันศุกร์คือไม้ที่มีดอกสีชมพู หรือแดง เป็นดอกไม้ที่ต้องโฉลกสร้างความเป็นสิริมงคล ความเจริญรุ่งเรืองให้คนที่เกิดวันศุกร์เป็นอย่างมาก เช่น โป๊ยเซียน ชงโค เล็บมือนาง ยี่เข่ง และชวนชม

เรียนอังกฤษยังไง...ถ้าจะไปสอบแอดมิชชั่น

เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่นักเรียนมัธยมปลายหลายคนที่จะสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย หรือ Admissions ไม่ได้ให้ความสนใจกับวิชาภาษาอังกฤษเท่าที่ควรจะเป็น ทั้งๆ ที่คะแนนวิชาภาษาอังกฤษเป็นคะแนนที่สำคัญชี้เป็นชี้ตายวิชาหนึ่งในการสอบ สำหรับนักเรียนสายวิทย์ที่สอบ O-NET ถ้าทำวิชาสำคัญๆ เช่น วิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ ได้คะแนนระดับปานกลางแล้ว คะแนนวิชาภาษาอังกฤษจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งคะแนนให้นักเรียนสอบติดในคณะที่คะแนนสูงๆ เช่น แพทยศาสตร์ หรือ วิศวกรรมศาสตร์ เพราะค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบวิชาภาษาอังกฤษในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ประมาณ 30 คะแนนเท่านั้น ถ้านักเรียนสามารถทำคะแนนวิชาภาษาอังกฤษได้ 60-65 คะแนน ก็จะสามารถทิ้งคู่แข่งได้อย่างขาดลอย ประมาณว่าจะสามารถขจัดคู่แข่งออกไปไม่น้อยกว่า 320,000 คนเลยทีเดียว
สำหรับนักเรียนสายศิลป์ วิชาภาษาอังกฤษมีความสำคัญยิ่ง สำคัญถึงขนาดอาจารย์บางท่านกล่าวว่า “สำหรับเด็กสายศิลป์แล้ว ถ้าทำคะแนนวิชาภาษาอังกฤษได้ (คะแนนดี) และเลือกคณะไม่สูงนักจะต้องสอบติดอย่างแน่นอน” คำกล่าวนี้มีสถิติตัวเลขของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สนับสนุน ผู้ที่สอบติดคณะวิชาของสายศิลป์ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่สอบภาษาอังกฤษผ่าน 50 คะแนนเกือบทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนี้นักเรียนทั้งสายวิทย์และสายศิลป์หลายคนที่คิดจะทิ้งภาษาอังกฤษ คงต้องทบทวนความคิดของตัวเองใหม่ ยังไม่สาย ถ้าจะเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ เวลาที่เหลือแม้จะไม่มากนักแต่น่าจะเพียงพอสำหรับการฝึกปรือจนชำนาญ และพร้อมสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยระบบ Admissions ที่จะมาถึงอีกไม่นานนี้
พทำอย่างไรจึงจะได้คะแนนภาษาอังกฤษ 60 คะแนนขึ้นไปพ
1. ต้องรู้คำศัพท์มาก เพราะข้อสอบภาษาอังกฤษเกือบทุกฉบับออกเกินหลักสูตรมัธยมปลายของกระทรวงศึกษาธิการเล็กน้อย (เพื่อให้สามารถคัดแยกนักเรียนได้) จึงมักมีคำศัพท์ยากๆ อยู่เป็นจำนวนมาก หากนักเรียนมีปัญหาด้านคำศัพท์จะบั่นทอนคะแนนของนักเรียนเป็นอย่างมากเพราะนักเรียนจะอ่านข้อสอบไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร โจทย์ถามอะไร ไม่รู้จะเอาตรงไหนมาตอบก็เลยฝนคำตอบมั่ว เสร็จแล้วก็นอนหลับในห้องสอบ (ข้อสอบภาษาอังกฤษบางฉบับมี 40 หน้า เกือบ 5,000 คำ นักเรียนบางคนทำเสร็จภายใน 15 นาที )
วิธีการเรียนคำศัพท์ที่ถูกต้องไม่ใช่การท่องศัพท์ที่เรียงตามตัวอักษร A – Z เพราะการท่องวิธีนี้สมอง (ซิริบรัม) จะเก็บไว้เป็นความจำระยะสั้น (Short-Term Memory) ซึ่งนักจิตวิทยาได้ทำการทดสอบแล้วว่าจะค่อยๆ ลบเลือนภายใน 21–30 วัน การท่องศัพท์วิธีนี้จึงเป็นความพยายามที่สูญเปล่าไร้ประโยชน์ วิธีที่น่าสนใจกว่าคือ การเรียนคำศัพท์จากรากศัพท์ (Roots) อุปสรรค (Prefixes) และปัจจัย (Suffixes) แล้วจึงค่อยท่องศัพท์เป็นชุดๆ ไป จึงจะจำได้ง่าย และที่สำคัญเป็นความจำระยะยาว (Long-Term Memory) ติดตัวเป็นทักษะของนักเรียนไปตลอด อีกวิธีหนึ่งคือการเดาศัพท์จากบริบท (Contextual Clues) คือ การเดาความหมายศัพท์จากข้อความที่แวดล้อมคำศัพท์ที่เราไม่ทราบความหมาย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะเดาคำศัพท์จากข้อความที่แวดล้อมได้ต้องผ่านการฝึกฝนมามากพอสมควรและต้องมีคำศัพท์เก็บสะสมไว้ (Vocabulary Stock) จำนวนมาก ต้องอ่านหนังสือมามาก และต้องอาศัยประสบการณ์พอสมควร จึงเป็นวิธีที่นักเรียนมัธยมปลายบางคนใช้ไม่ค่อยได้ผลนัก ส่วนวิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันก็คือ การอาศัยการท่องศัพท์จากทำนองเพลง ซึ่งก็เป็นวิธีที่น่าสนใจ แต่บางครั้งไม่สามารถแยกความหมายของ Synonyms แต่ละคำได้
2. ต้องมีความสามารถพื้นฐานทางด้านไวยากรณ์ นักเรียนไม่จำเป็นต้องรู้พลิกแพลงหลักไวยากรณ์ยากๆ ที่ละเอียดมากๆ แต่ควรรู้แนวคิดพื้นฐาน (Basic Concepts) ของไวยากรณ์แต่ละเรื่อง เพราะความรู้ด้านไวยากรณ์จะช่วยให้นักเรียนอ่านเรื่องได้เข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น ปัจจุบันแนวข้อสอบ Admissions นั้น ได้ทดสอบความรู้ด้านไวยากรณ์อยู่มากทีเดียว หัวข้อทางไวยากรณ์ที่นักเรียนควรทบทวนได้แก่ Tenses, Non-finite Verbs (Gerund, Infinitive, Participle), Reported Speech, Question Tag, Phrasal Verbs, Conditional Sentence และ Sentence Structure แบบต่างๆ เป็นต้น
3. ต้องรู้เทคนิคการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เพราะข้อสอบแทบทุกแบบทั้ง 100 ข้อ เป็นข้อสอบให้นักเรียนอ่านทั้งสิ้น เมื่อนักเรียนอ่านแล้ว กระบวนการต่อมาก็คือ การแปลเป็นภาษาไทยนั่นเอง เป็นกระบวนการที่สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแปลในใจขณะที่นักเรียนอ่าน แน่นอนว่านักเรียนไม่จำเป็นต้องแปลได้ทุกคำพูด แต่ต้องแปลแล้วพอจับใจความเป็นภาษาไทยได้ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนที่ถูกวิธีการอ่านข้อความที่แปลเป็นภาษาของเรา(ภาษาไทย)แล้วย่อมเข้าใจได้ง่ายกว่าการอ่านภาษาต่างประเทศ นักเรียนลองเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนอ่านหนังสือพิมพ์ มติชน กับหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ว่า นักเรียนอ่านข่าวเดียวกัน อ่านฉบับใดแล้วเข้าใจมากกว่ากัน คำตอบจะเป็นเครื่องยืนยันว่าการแปลเป็นภาษาไทยสำคัญมากน้อยเพียงใด
4. ต้องรู้จักเทคนิคการอ่าน เช่น เทคนิคการหาความคิดหลัก (Main Idea), หัวเรื่อง (Topic), ชื่อเรื่อง (Title), การแทนสรรพนาม (Pronoun Reference), การสรุป (Inference), ความมุ่งหมาย (Purpose) ต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในข้อสอบคัดเลือกทุกฉบับเป็นประจำทุกปี
5. ต้องรู้จักสำนวนหรือสุภาษิตง่ายๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น
- Keep your fingers crossed. หวังว่าคุณคงโชคดี
- It's a piece of cake. มันเป็นเรื่องง่ายๆ ของหมูๆ
- You must be pulling my leg. คุณต้องล้อผมแน่ๆ
- The show must go o¬n. งานแสดงจะต้องดำเนินต่อไป
- Mr. Oak is a man of means. คุณโอ๊คเป็นมหาเศรษฐี
เพราะสำนวนเหล่านี้มักเป็นสิ่งที่ข้อสอบยุคใหม่ ต้องการทดสอบความรู้ผู้เข้าสอบอยู่เสมอๆ ถ้านักเรียนไม่ทราบความหมายมาก่อน ไปแปลหรือตีความตรงๆ ตามรูปศัพท์ ก็จะสับสนได้
6. ต้องฝึกหัดทำข้อสอบเอนทรานซ์เก่าๆ ข้อสอบ CU-TEP, TU-GET, TOEFL (PBT & CBT), SAT และข้อสอบ IELTS อย่างน้อย 5 ปีย้อนหลัง เพื่อให้ชินกับข้อสอบสมัยใหม่ที่มีความยาวขนาด 2,000 – 3,000 คำ จำนวน 20 – 30 หน้า โดยใช้เวลา 2 - 3 ชั่วโมง เป็นการสร้างความคุ้นเคยกับลักษณะข้อสอบแนว Communicative English ที่มักประกอบด้วย Situational Dialogues 10 –15 ข้อ & Long Conversation 10 ข้อ
- Letters 1 – 2 เรื่อง
- Advertisement, News, Cartoon, Job Application, Manual, Schedule, Label, etc. 1 – 2 เรื่อง
- Error Identification Test 5 – 10 ข้อ
- Reading for Information, Statistical Description (Diagram, Graph, Table etc.)
- Grammar & Structure 5 - 10 ข้อ
- Cloze Tests 1 – 2 เรื่อง
- Speed Reading
- Writing Test แบบปรนัย 4 ตัวเลือก
- Passages 3 – 5 เรื่อง ขึ้นอยู่กับความยาวของแต่ละเรื่อง
7. ต้องรู้กลเม็ด (Tricks) ในการเดาคำตอบ เพราะถ้านักเรียนอ่านข้อสอบแล้วมืดแปดด้านแปลไม่ออก อ่านไม่รู้เรื่องเลย นักเรียนจะต้องรู้ว่าควรจะเดาคำตอบจากตัวเลือก (Choices) ได้อย่างไรโดยใช้กลเม็ดจากการวิเคราะห์คำตอบด้วยทฤษฎีความน่าจะเป็น (Probability Theory) ซึ่งผู้อ่อนภาษาอังกฤษก็สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อใช้ในการเดาคำตอบได้อย่างถูกต้อง แม่นยำพอสมควรตามทักษะที่ได้รับการฝึกฝนตามทฤษฎีความน่าจะเป็น

นิสัยแบบนี้..ควรเรียนคณะไหน

..ใกล้เข้ามาแล้ว ใกล้เข้ามาแล้ว ใกล้จะถึงสี่แยกแอดมิชชั่นแล้ว..ณ แยกแห่งนี้คนที่อยากเป็นทนายความ ก็ต้องเลี้ยวขวาเพื่อไปตามถนนนิติศาสตร์ แต่หากอยากเป็นนักข่าว ก็เลือกเบี่ยงซ้ายไปใช้ถนนนิเทศศาสตร์ แต่ก็มีอีกหลายคนที่เลือกยืนอยู่ตรงกลางแยก โดยยังสับสนว่า "เราไม่รู้จะเป็นอะไร เราเลยไม่รู้จะไปทางไหน.." หากตัดสินใจได้ไวก็ไม่เป็นไรครับ แต่ใครตัดสินใจไม่ได้เลย จึงต้องยืนอยู่อย่างนั้น โดนรถชนตายแน่นอนครับ..
ในวันนี้คงเหลืออีกไม่กี่กิโลเมตร..ก็จะถึงทางแยกนี้แล้ว..เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น พี่ลาเต้ มีบทความค้นหาตัวเองมาฝากกันครับ มาดูซิว่า หากเราเป็นคนนิสัยแบบนี้ เหมาะสม และควรจะเลือกเรียนคณะไหน หรือทำอาชีพแบบไหน..
คนมีเหตุมีผล
เต็มไปด้วยหลักการชอบการประมวลเรื่องราวเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงให้ปรากฏ
คนประเภทอ่อนไหว
ลักษณะเหล่านี้เหมาะจะทำงานด้านการจัดการ บัญชี ช่างไฟฟ้า โปรแกรมเมอร์ รวมไปถึงงานทางด้านเทคนิค และคณะที่เหมาะสมกับคนนิสัยประเภทนี้ ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์
มีสัญชาตญาณในการดูแลปกป้อง
คนกระตือรือร้น
ลองมองหางานประเภทเป็นที่ปรึกษา เป็นพยาบาล หรือสอนหนังสือ และคณะที่เหมาะสมกับคนนิสัยประเภทนี้ ได้แก่ คณะศึกษาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ คณะจิตวิทยา คณะรัฐประศาสนศาสตร์
ชอบพูดคุย
คนมองโลกในแง่ดี
มีความทะเยอทะยาน ชัดเจนเลยว่างานที่เกี่ยวข้องกับทีวี วิทยุ โฆษณา น่าจะเหมาะกับคุณ และคณะที่เหมาะสมกับคนนิสัยประเภทนี้ ได้แก่ คณะนิเทศศาสตร์ คณะการสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
อยากรู้อยากเห็นเต็มไปด้วยพลัง
คนพิถีพิถันประณีตเรียบร้อย
น่าจะสนใจอาชีพที่ไม่ต้องอยู่นิ่งตลอดเวลา อย่างเช่น ไกด์หรือมัคคุเทศก์ หรือแม้แต่พนักงานขายที่ต้องเดินทางไปโน่นมานี่บ่อยๆ และคณะที่เหมาะสมกับคนนิสัยประเภทนี้ ได้แก่ คณะศิลปศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะการโรงแรม คณะอุตสาหกรรมการบริการ คณะอักษรศาสตร์
ชำนาญการวิเคราะห์
คนเกิดมาเพื่อเป็นผู้นำ
ชอบให้คำแนะนำแบบลงลึก อาชีพที่น่าจะเหมาะกับคุณคืองานด้านวิจัย สถิติ หรือสืบสวนสอบสวน และคณะที่เหมาะสมกับคนนิสัยประเภทนี้ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ไม่ชอบอยู่ใต้บังคับใคร
คนช่างจินตนาการ
แต่ขณะเดียวกันก็ชอบอยู่ในสังคมมากกว่าตามลำพัง น่าจะลองมองหาที่ว่างในตำแหน่งที่ได้แสดงพลัง อย่างเช่น ซีอีโอ บรรณาธิการ หรือแม้แต่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคณะที่เหมาะสมกับคนนิสัยประเภทนี้ ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะนิเทศศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์
เจ้าบทบาทมีความคิดลึกซึ้งในเชิงปรัชญา
คนใจบุญสุนทาน
งานที่จะทำให้คุณสนใจได้ก็คือนักจิตวิทยา จิตแพทย์ นักแสดง และศิลปินทุกแขนงไม่ว่าจะเป็นศิลปะหรือดนตรี และคณะที่เหมาะสมกับคนนิสัยประเภทนี้ ได้แก่ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
ชอบสั่งสอน
คนที่มีความคิดสร้างสรรค์
และชอบที่จะมองเห็นพัฒนาการหรือการเจริญเติบโต มักสนใจงานประเภทสังคมสงเคราะห์ นักบุญ ผู้พิพากษา และคณะที่เหมาะสมกับคนนิสัยประเภทนี้ ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ คณะรัฐศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์
มีสายตาแหลมคมลึกซึ้ง

การเตรียมความพร้อมและเทคนิคในการสอบตรง

การเตรียมความพร้อมและเทคนิคในการสอบตรง
การสอบตรงในปัจจุบันประกอบด้วย 3 รูปแบบหลัก
แบบที่ 1 ผ่านคุณสมบัติ -> สอบข้อเขียน -> สอบสัมภาษณ์ + ดู Portfolio
แบบที่ 2 ผ่านคุณสมบัติ -> สอบข้อเขียน + O-NET,A-NET -> สอบสัมภาษณ์ + ดู Portfolio
แบบที่ 3 ผ่านคุณสมบัติ -> สอบสัมภาษณ์ + ดู Portfolio
คุณสมบัติ
ในการสอบตรง มหาวิทยาลัยจะพิจารณานักเรียนที่มีคุณสมบัติและความสามารถตรงกับความต้องการของคณะ/สาขา เพื่อที่นักเรียนจะสามารถประสบความสำเร็จในการเรียนและการทำงานต่อไป
การสอบข้อเขียน
ข้อสอบในการสอบตรงของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าโครงการนั้นต้องการนักเรียนที่มีความสามารถด้านใด เช่น สอบตรงนิติ มธ. ต้องการนักเรียนที่มีความสนใจด้านกฎหมายและมีความสามารถในการจับใจความ ข้อสอบก็จะออกเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้นและการเขียนเรียงความ ย่อความ ดังนั้นนักเรียนที่จะเตรียมพร้อมกับการสอบตรง โดยหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ/สาขานั้น ว่าต้องการนักเรียนที่มีความสามารถด้านใดบ้าง และศึกษาแนวข้อสอบตรงของคณะ/สาขานั้นๆ เพื่อจะได้เตรียมพร้อมก่อนการสอบ
การสอบสัมภาษณ์
การสอบสัมภาษณ์มีส่วนสำคัญอย่างมากในการคัดเลือก นักเรียนที่ผ่านคุณสมบัติและผ่านการสอบข้อเขียน จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการสอบสัมภาษณ์ โดยส่วนมากจะเป็นเป็นลักษณะการสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการ และการสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมและความสนใจในคณะ/สาขา มหาวิทยาลัยนั้นๆ
การสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการ จะเป็นการถามตอบเชิงวิชาการ ลักษณะข้อสอบเหมือนกับข้อสอบอัตนัย โดยข้อสอบจะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องที่เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ยกตัวอย่าง การสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการของคณะ/สาขาด้านคอมพิวเตอร์ “ช่วยอธิบายความหมายคำว่า OS ให้ฟังหน่อยซิครับ” หรือ การสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการของคณะ/สาขาด้านภูมิศาสตร์ “พายุไซโคลน หมายถึงอะไร” การสอบแบบนี้นักเรียนที่มีความชอบและถนัดในด้านนั้นอยู่แล้วจะสามารถสอบผ่านได้โดยไม่ยาก นักเรียนจะต้องเตรียมพร้อมโดยศึกษารายละเอียดรายวิชาที่ต้องเรียนของคณะ/สาขานั้น และศึกษาเนื้อหาล่วงหน้าในเรื่องที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ ก็จะช่วยให้มีนักเรียนความมั่นใจและสามารถตอบคำถามได้
การสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมและความสนใจ จะเป็นการสอบเพื่อวัดความพร้อมและความสนใจของนักเรียน ว่ามีความสนใจที่จะเข้าเรียนมากน้อยเพียงใด คำถามที่มักจะพบบ่อยเช่น “วันนี้คุณมาทำอะไร?” “ทราบหรือไม่ว่าคณะนี้เรียนเกี่ยวกับอะไร?” หรือ คำถามที่เกี่ยวกับสาขานั้น เช่น “สังคมสงเคราะห์ในคำคิดของคุณหมายความว่าอย่างไร” เป็นคำถามที่ไม่ยากแต่จะต้องเตรียมตัว โดยศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับคณะ/สาขานั้น ก่อนที่จะสอบสัมภาษณ์
Portfolio
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญและนักเรียนจะต้องเตรียมไปในวันสอบสัมภาษณ์คือ แฟ้มสะสมผลงาน หรือ Portfolio ซึ่งจะเป็นส่วนจะช่วยให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกได้ง่ายยิ่งขึ้น Portfolio ที่ดีจะต้องบ่งบอกความเป็นตัวของตัวเอง “คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ” ไม่จำเป็นต้องนำผลงานทุกอย่างลงในแฟ้ม แต่จะต้องเป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับคณะ/สาขา ที่เรากำลังจะไปสัมภาษณ์จึงจะดีที่สุด

เคล็ดลับ 13 ประการในการเรียนอย่างมีประสิทธิ์ภาพมีอะไรบ้าง ><"

1.เราต้องมีความรับผิดชอบคะ

-เราต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองนะคะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบ้าน เรื่องเรียน หลายคนเวลาลืมทำการบ้าน ก็จะบอกอาจารย์ว่าหนูลืมคะ นั่นไม่ใช่ข้ออ้างที่ดีนะคะ (คนเขียนทามบ่อยคะ อิอิ)

2.เริ่มต้นดี

-ใครหลายๆคนนะคะ เวลาเปิดเทอมใหม่ๆนี่ ก็จะตั้งใจเรียน แต่พอไปหลังๆนี่ เริ่มแร้วคะ ถ้าเราเริ่มต้นดีตั้งแต่ตอนแรก และก็ดีเสมอไป รับรองคะ
3.กำหนดเป้าหมายในการเรียนอย่างแน่วแน่

-เพื่อนๆหลายคนตอนนี้ อาจจะกำลังศึกษาอยู่ ม.3 หลายคนก็ศึกษาอยู่ ม.6 ในการเรียนต่อนั้น เพื่อนๆต้องกำหนดให้เป้าหมายในการเรียนให้ชัดเจน ทั้งระยะสั้นและระยะยาว และทุ่มเทความพยายามให้บรรลุเป้าหมายนั้น
4.วางแผนและจัดการ

-มีการวางแผน จัดลำดับสำคัญของกิจกรรมที่ต้องทำ หากทำเป็นตารางสัปดาห์ได้ก็ยิ่งดีใหญ่เรยนะคะ

5.มีวินัยต่อตนเอง

-เมื่อกำหนดเป้าหมาย วางแผนและจัดการเรียบร้อยแล้ว เราก็ต้องสัญญากับตนเองอย่างแน่วแน่ที่จะมีวินัย และปฏิบัติตาม

6.อย่าล้าสมัย

-วิทยาการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การค้นคว้าหาความรู้ ต้องอิงกับข้อมูลที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์

7.ฝึกตนเองให้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

-ศึกษาข้อมูลเสนอแนะ และฝึกทักษะการเรียนรู้

8.เตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู้ชั้นเรียน

-เตรียมตัวเป็นผู้ใฝ่หาความรู้อย่างแข็งขัน เตรียมอุปกรณ์หนังสือที่จะใช้ในการเรียนให้เรียบร้อย

9.มุ่งมั่นจดจ่อต่อบทเรียน

-ในการเรียนนั้นเราก็ควรที่จะมีความมุ่งมั่น ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูด อาจารย์สอน ไม่เข้าเรียนเพื่อที่จะมานั่งพูดคุยกัน หรือรอเวลาให้เลิกเรียนเร็วๆ

10.เป็นตัวของตัวเอง

-รู้จักคิดและทำ ด้วยความสามารถของตนเอง คิดเสมอว่าเราเป็นผู้หนึ่งที่มีศักยภาพสูงเหมือนกัน

11.มีความกระตือรือล้น

-ความสำเร็จเป็นของผู้ที่มีความริเริ่ม เป็นฝ่ายรุกที่จะมุ่งหน้า และคว้าความสำเร็จเป็นของตนเอง

12.มีสุขภาพดี

-เพื่อนๆอย่าลืมใส่ใจถึงสุขภาพทางร่างกายของตัวเราเองนะคะ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมทางสังคมต่างๆ

ก็มาถึงเคล็ดลับทางการเรียนข้อสุดท้ายกันแล้วคะ

13.เรียนอย่างมีความสุข

-เราต้องพยายามที่จะเก็บเกี่ยวความสนใจในบทเรียน คิดเสมอว่า วิชานี้น่าเรียน เรียนสนุก ไม่ต้องไปเครียดกับมัน แล้วเราก็จะเรียนอย่างมีความสุขคะ

ก็บอกกันไปแล้วนะคะ ไงเพื่อนๆก็อย่าลืม นำเคล็ดลับทั้ง13ประการนี้ ไปปฏิบัติกันดูนะคะแล้วคราวหน้า เกรดจะเอาอะไรมาฝากกัน คอยดูนะคะ

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553