ครูอ้อย ยินดีต้อนรับ

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แนะนำทุกสาขา-คณะ ม.ศิลปากร

ช่วงนี้เชื่อว่าน้องๆ หลายคนคงหาข้อมูลแต่ละมหาวิทยาลัยกันจ้าละหวั่น เลยนำข้อมูลของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสถาบันที่น้อง ๆ ใฝ่ฝันอยากเข้าเรียนมาให้ดูกันก่อนที่จะตัดสินใจเลือกคณะและสาขาที่ตนเองชอบมากที่สุด..............

*******************************

วังท่าพระ กรุงเทพฯ

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะโบราณคดี
คณะมัณฑนศิลป์

สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

คณะดุริยางคศาสตร์
วิทยาลัยนานาชาติ

ศูนย์ประสานงาน บางรัก กรุงเทพฯ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ และ
ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชา ITธุรกิจ และ ITออกแบบ

วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม

คณะอักษรศาสตร์
คณะศึกษาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
คณะวิทยาการจัดการ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นปีที่ 1 - 3
สาขา ITธุรกิจ และ ITออกแบบ



คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์มีรากฐานมาจากหลักสูตรจิตรกรรมและประติมากรรมของโรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมประติมากรรมเป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2486 เปิดสอนเพียง 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาจิตรกรรม และสาขาวิชาประติมากรรม โดยมีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรก ต่อมาเปิดสอนสาขาวิชาเพิ่มเติมขึ้นอีก 3 สาขาวิชา คือ พ.ศ. 2509 เปิดสาขาวิชาภาพพิมพ์ พ.ศ. 2520 เปิดสาขาวิชาศิลปไทย และเปิดสาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ พ.ศ. 2530

หลักสูตรการศึกษา
อนุปริญญาศิลปบัณฑิต (อนุ.ศบ.)
ปริญญาศิลปบัณฑิต (ศ.บ.)
ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 3 ปี
5 ปี
2 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับอนุปริญญา

ระดับปริญญาบัณฑิต
1. สาขาวิชาจิตรกรรม
2. สาขาวิชาประติมากรรม
3. สาขาวิชาภาพพิมพ์
4. สาขาวิชาศิลปไทย
5. สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาจิตรกรรม
2. สาขาวิชาประติมากรรม
3. สาขาวิชาภาพพิมพ์
4. สาขาวิชาศิลปไทย

สีประจำคณะ สีเหลือง

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ดำเนินการจัดแสดงนิทรรศการด้านศิลปกรรมทั้งของอาจารย์ นักศึกษา และศิลปินที่มีผลงานดีเด่น เพื่อเผยแพร่และเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนเสมอมา รวมถึงโครงการแลกเปลี่ยนต่างๆ ที่เป็นการเสริมสร้างความร่วมมือกับสถาบันที่มีการเรียนการสอนศิลปะทั้งในประเทศและในระดับนานาชาติ ตลอดจนคณาจารย์ของคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ให้ความร่วมมือเป็นกรรมการตัดสินการประกวดผลงานศิลปกรรมให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนงานบริการทางวิชาการอื่นๆ

เว็บไซท์ http://www.finearts.su.ac.th






คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2496 โดยศาสตราจารย์พระพรหมพิจิตร ใช้ชื่อในขณะนั้นว่า "คณะสถาปัตยกรรมไทย" เปิดสอนหลักสูตรการศึกษาระดับอนุปริญญา 3 ปีการศึกษา ต่อมา พ.ศ. 2501 ขยายหลักสูตรการศึกษาถึงระดับปริญญา 5 ปีการศึกษา จนกระทั่ง พ.ศ. 2509 ได้เปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์" และพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัยกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีแผนใหม่ การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2517 โดยเปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง เป็นสาขาวิชาแรก ปัจจุบันคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี 2 สาขาวิชา ปริญญาโท 7 สาขาวิชา รวมทั้งหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก อีก 1 สาขาวิชา

หลักสูตรการศึกษา
อนุปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ (อนุ.สถ.)
ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.)
ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณพิต (วท.ม.)
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณพิต (ปร.ด.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 3 ปี
5 ปี
2 ปี
2 ปี
2 ปี
3 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับอนุปริญญา
1. สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
2. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย

ระดับปริญญาบัณฑิต
1. สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
2. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง
2. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
3. สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาการจัดการงานก่อสร้าง
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
2. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษา
3. สาขาวิชาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว (หลักสูตรนานาชาติ)

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
1. สาขาวิชาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว (หลักสูตรนานาชาติ)

สีประจำคณะ สีเทาอ่อน

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สนับสนุนและส่งเสริมให้คณาจารย์ ผลิตผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ การสนับสนุนงานวิจัยดังกล่าวเป็นการสนับสนุนทางด้านบุคลากร อาคารสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับผู้วิจัย เพื่อให้งานวิจัยสำเร็จผลอันนำไปสู่การพัมนาองค์ความรู้และการประยุกต์ในสาขาวิชาที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะ นอกจากนั้นยังส่งเสริมการผลิตตำรา หนังสือ โดยการจัดสรรงบประมาณให้กับคณาจารย์ ผลิตตำราหนังสือที่มีคุณภาพ เพื่อประโยชน์ทางด้านการเรียนการสอนต่อไป

สำหรับงานบริการทางวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ให้การบริการในรูปแบบต่างๆ แก่สังคม อาทิ การออกแบบอาคารสิ่งก่อสร้าง การวางแผนและผังพัฒนาพื้นที่ การศึกษาเพื่อการพัฒนาในาสาขาวิชาต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว การอนุรักษ์โบราณสถาน สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ฯลฯ นอกจากนั้นยังเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการในรูปแบบการจัดนิทรรศการ การจัดประชุม สัมมนา การฝึกอบรม ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ

เว็บไซท์ http://www.arch.su.ac.th






คณะโบราณคดี
คณะโบราณคดีตั้งขึ้นเป็นคณะที่ 3 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2498 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตนักโบราณคดีไปปฏิบัติงานดูแลรับผิดชอบการอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานอันเป็นมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ตลอดจนปฏิบัติงานสนามทางโบราณคดีให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์เป็นคณบดีคนแรก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 คณะโบราณคดีปรับปรุงการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต โดยขยายขอบเขตการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาอื่นๆ อีก นอกเหนือจากผลิตนักโบราณคดี เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
ประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต)
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด.)
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
1 ปี
2 ปี
5 ปี
5 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
1. สาขาวิชาโบราณคดี
2. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
3. สาขาวิชามานุษยวิทยา
4. สาขาวิชาภาษาไทย
5. สาขาวิชาภาษาตะวันออก
6. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
7. สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส

ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
2. สาขาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
3. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
4. สาขาวิชามานุษยวิทยา
5. สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก
6. สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
7. สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
8. สาขาวิชาเขมรศึกษา
9. สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
1. สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
2. สาขาวิชาภาษาเขมร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
1. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
2. สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์

สีประจำคณะ สีม่วง

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณาจารย์คณะโบราณคดีปฏิบัติงานวิจัยในทุกสาขาวิชาที่เปิดสอน และมีโครงการวิจัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ นอกจากนี้ยังให้บริการวิชาการแก่สังคมในรูปของการจัดการอบรม สัมมนา บรรยาย นิทรรศการต่างๆ ที่เกี่ยวกับสาขาวิชาที่เปิดสอน และจัดทัศนศึกษาทางศิลปวัฒนธรรมให้แก่บุคคลทั่วไป ตลอดจนสนับสนุนให้นักศึกษาจัดกิจกรรม หรือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้นเป็นประจำ

เว็บไซท์ http://www.archae.su.ac.th






คณะมัณฑนศิลป์
คณะมัณฑนศิลป์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2499 ด้วยความริเริ่มของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการศึกษาในเรื่องของศิลปะและการออกแบบทุกลักษณะวิชาชีพ ทั้งในเรื่องของทฤษฎีและการปฏิบัติ เรียกว่าสาขาวิชามัณฑนศิลป์

ปัจจุบัน คณะมัณฑนศิลป์จัดการเรียนการสอนสาขาศิลปะและการออกแบบ โดยผลิตนักออกแบบที่มีความรู้ ความสามารถ ในการสร้างงานออกแบบ ในสาขาวิชาต่างๆ

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาศิลปบัณฑิต (ศ.บ.)
ปริญญาศิลปบัณฑิต (ศ.บ.)
ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 2 ปี (หลักสูตรต่อเนื่อง)
4 ปี
2 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
1. สาขาวิชาการออกแบบภายใน
2. สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
3. สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
4. สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา
5. สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา
6. สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ
หลักสูตรการศึกษา 2 ปี
1. สาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
2. สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาการออกแบบภายใน
2. สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
3. สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา
4. สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา

สีประจำคณะ สีแสด

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะมัณฑนศิลป์ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทำการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ในศาสตร์แขนงต่างๆ ของคณะ และให้ความสำคัญต่อการบริการทางวิชาการแก่สังคม อาทิ การประกวดโฆษณายอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย การออกแบบตกแต่งอาคารอเนกนิทัศน์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดโครงการประกวดออกแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ (Young Designer OTOP Champion) ในโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล ปี 2547 เขตภาคกลางและภูมิภาคตะวันตก และเป็นที่ปรึกษาวางแผนออกแบบและพัฒนาภูมิทัศน์ หมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น

เว็บไซท์ http://www.decorate.su.ac.th






คณะอักษรศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์เป็นคณะวิชาที่ตั้งขึ้นจากนโยบายของมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ต้องการขยายคณะวิชาเพิ่มเติมจากสาขาศิลปะ เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีลักษณะเป็นสากลที่ครอบคลุมสาขาวิชาการหลายสาขา ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรในขณะนั้นจึงเสนอโครงการขยายมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งไปยังบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะอักษรศาสตร์เป็นคณะวิชาแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากรที่จัดตั้งขึ้นที่วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จัดหลักสูตรการเรียนการสอนในลักษณะบูรณาการของสายมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและเป็นผู้ที่พึงประสงค์ของสังคม

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.)
ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.)
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต (อ.ด.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
2 ปี
2 ปี
5 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
1. สาขาวิชานาฏศาสตร์
2. สาขาวิชาสารสนเทศและบรรณารักษศาสตร์
3. สาขาวิชาประวัติศาสตร์
4. สาขาวิชาปรัชญา
5. สาขาวิชาภาษาเกาหลี
6. สาขาวิชาภาษาจีน
7. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
8. สาขาวิชาภาษาไทย
9. สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
10. สาขาวิชาภาษาเยอรมัน
11. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
12. สาขาวิชาภูมิศาสตร์
13. สาขาวิชาสังคมศาสตร์การพัฒนา
14. สาขาวิชาสังคีตศิลป์ไทย
15. สาขาวิชาเอเชียศึกษา

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศึกษา
2. สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3. สาขาวิชาฝรั่งเศสศึกษา
4. สาขาวิชาภาษาไทย
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
1. สาขาวิชาภาษาไทย

สีประจำคณะ สีฟ้า

การวิจัยและบริการวิชาการ

คณะอักษรศาสตร์สนับสนุนให้อาจารย์ศึกษาค้นคว้าทำงานวิจัยมาโดยตลอด โครงการวิจัยของอาจารย์คณะอักษรศาสตร์มีทั้งโครงการวิจัยส่วนบุคคลและวิจัยร่วม โครงการวิจัยที่บุคลากรของคณะอักษรศาสตร์ดำเนินอยู่ ได้แก่ "รัสเซียใหม่และลู่ทางความสัมพันธ์กับไทย" "มโนทัศน์เรื่องนาคในบริบททางสังคม" "การอภิปรายถกเถียงทางปรัชญาว่าด้วยความเป็นสมัยใหม่" "อนาคตของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในภาคตะวันตก" นอกจากนี้คณะอักษรศาสตร์ยังสนับสนุนให้อาจารย์จัดทำตำรา เอกสารคำสอน และเขียนบทความทางวิชาการ โดยจัดทำวารสาร "อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ ส่วนการบริการวิชาการแก่สังคม คณะอักษรศาสตร์จัดโครงการบริการทางวิชาการในรูปแบบต่างๆ เป็นจำนวนมากเป็นประจำ เช่น การสัมมนา การอบรมเชิงปฏิบัติการ การบรรยายพิเศษ และการจัดนิทรรศการ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในการจัดโครงการทางวิชาการอื่นๆ เพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและการทนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติอีกด้วย

เว็บไซท์ http://www.arts.su.ac.th






คณะศึกษาศาสตร์
คณะศึกษาศาสตร์เริ่มเปิดสอนตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2513 เป็นคณะวิชาลำดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ในระยะก่อตั้งระหว่าง พ.ศ. 2513 - 2514 มีศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (อธิการบดีของมหาวิทยาลัยศิลปากรในสมัยนั้น) เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งคณบดี ระยะแรกเปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิต วิชาเอก 4 สาขา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังเปิดโรงเรียนสาธิต เพื่อประโยชน์สำหรับการฝึกสอนและฝึกปฏิบัติวิชาชีพของนักศึกษา

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.)
ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.)
ประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต)
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.)
ปริญญาศิลปศาสตรหมาบัณฑิต (ศศ.ม.)
ปริญญาปรัชาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
4 ปี
4 ปี
5 ปี
1 ปี
2 ปี
2 ปี
5 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
หลักสูตรการศึกษา 5 ปี
ศึกษาศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาการประถมศึกษา
2. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
3. สาขาวิชาภาษาไทย
4. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
5. สาขาวิชาสังคมศึกษา
6. สาขาวิชาคณิตศาสตร์
7. สาขาวิชาเคมี
8. สาขาวิชาชีววิทยา
9. สาขาวิชาฟิสิกส์
10. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
ศึกษาศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
2. สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีพ
ศิลปศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาจิตวิทยา
วิทยาศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา

ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์
2. สาขาวิชาชีพครู

ระดับปริญญษมหาบัณฑิต
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง
2. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
3. สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ
4. สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ
5. สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
6. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
7. สาขาวิชาการสอนสังคม
8. สาขาวิชาพัฒนศึกษา
9. สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาพิเศษ
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
2. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
1. สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์

สีประจำคณะ สีน้ำเงิน

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะศึกษาศาสตร์มีโครงการพิเศษเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยด้วยวิธีพิเศษ (โครงการสืบสานภาษาไทย) เฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระชนมายุครบ 3 รอบ คณะศึกษาศาสตร์จัดให้มีการบริการทางวิชาการแก่สังคมในรูปแบบต่างๆ อาทิ การประชุม สัมมนา การอบรม การบรรยายพิเศษ ฯลฯ นอกจากนี้คณะศึกษาศาสตร์ยังมีการจัดการเรียนการสอนในลักษณะโครงการพิเศษ ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก

เว็บไซท์ http://www.educ.su.ac.th






คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นคณะที่ 7 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นคณะวิชาแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากรที่เปิดสอนด้านวิทยาศาสตร์ โดยเล็งเห็นถึงความจำเป็นและความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต ระยะแรกเปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตเพียง 2 สาขาวิชา ต่อมาเปิดสอนสาขาวิชาต่างๆ เพิ่มขึ้นอีก เพื่อให้ครอบคลุมวิทยาศาสตร์พื้นฐานทุกสาขาวิชาทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต และระดับปริญญาเอก การจัดการเรียนาอรสอนของคณะวิทยาศาสตร์ จึงสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการเร่งรัดผลิตบัณฑิตสาขาวิชาต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
2 ปี
5 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
1. สาขาวิชาคณิตศาสตร์
2. สาขาวิชาชีววิทยา
3. สาขาวิชาเคมี
4. สาขาวิชาฟิสิกส์
5. สาขาวิชาสถิติ
6. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
7. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
8. สาขาวิชาจุลชีววิทยา
9. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
10. สาขาวิชาสถิติประยุกต์

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาคณิตศาสตร์
2. สาขาวิชาคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. สาขาวิชาสถิติประยุกต์
4. สาขาวิชาชีววิทยา
5. สาขาวิชาเคมีศึกษา
6. สาขาวิชาเคมีอินทรีย์
7. สาขาวิชาเคมีวิเคราะห์
8. สาขาวิชาฟิสิกส์
9. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
10. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ระดับปริญาดุษฎีบัณฑิต
1. สาขาวิชาเคมีอินทรีย์

สีประจำคณะ สีเหลืองทอง

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะวิทยาศาสตร์ทำงานวิจัยในแขนงต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศหลายด้าน อาทิ การวิจัยเพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพในการเกษตรและอุตสาหกรรม การวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีฟิล์มบาง การวิจัยด้านออปโตอิเล็กทรอนิกส์ การวิจัยด้านฟิสิกส์บรรยายและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และยังเป็นศูนย์กลางการพัฒนาครูและนักเรียนทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของโรงเรียนในพื้นที่ภูมิภาคตะวันตก เป็นแหล่งบริการวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การใช้สถิติประยุกต์และระบบคอมพิวเตอร์เก็บและวินิจฉัยข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรมของภูมิภาคตะวันตก ศึกษาวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีและตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์สารชนิดต่างๆ ตลอดจนจัดให้มีการประชุมสัมมนา การอบรม การบรรยายพิเศษ และการแสดงนิทรรศการ

เว็บไซท์ http://www.sc.su.ac.th





คณะเภสัชศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์ได้รับความเห็นชอบให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2526 เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนและกระจายตัวของเภสัชกร โดยเน้นที่ภูมิภาคตะวันตกของประเทศ นับเป็นคณะเภสัชศาสตร์ ลำดับที่ 6 ของประเทศไทย และเป็นคณะวิชาลำดับที่ 8 ที่จัดตั้งขึ้นในมหาวิทยาลัยศิลปากร มีเภสัชกรรองศาสตราจารย์ ดร.ประโชติ เปล่งวิทยา เป็นคณบดีคนแรก มหาวิทยาลัยเริ่มรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2529 เป็นต้นมา

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.)
ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.บ.)
ปริญญาเภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภ.ด.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 5 ปี
2 ปี
2 ปี
5 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
1. สาขาวิชาเภสัชศาสตร์

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
2. สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
3. สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ
4. สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม
5. สาขาวิชาเภสัชเคมี
6. สาขาวิชาเภสัชเวท
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ
2. สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
1. สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ
2. สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม
3. สาขาวิชาเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
4. สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร

สีประจำคณะ สีเขียมมะกอก

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะเภสัชศาสตร์เน้นและสนับสนุนการวิจัยทั้งด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ครอบคลุมแหล่งที่มีของผลิตภัณฑ์ยา การเตรียมและการประดิษฐ์ การประกันและการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ยา เภสัชกรรมคลินิก ระบบเภสัชสนเทศ กลวิธานการป้องกันและการรักษาโรคในคนและสัตว์ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีเภสัชกรรม รวมถึงการวิจัยทางสังคมและชุมชน โดยเน้นการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขร่วมกับสถาบันการศึกษาอื่นของรัฐ กระทรวงสาธารณสุข ภาคเอกชน ตลอดจนความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ

การบริการแก่สังคม คณะเภสัชศาสตร์ได้ดำเนินการมาตลอดในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับยาแก่ประชาชนทั่วไปและพระสังฆาธิการ เช่น การจัดทำโครงการยาน่ารู้ การรักษาตนเองโดยไม่ใช้ยาและการจัดทำจุลสารไภษิชยนิพนธ์ เป็นต้น นอกจากนั้น สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน "เภสัชศาลา" ยังเป็นสถานที่ซึ่งคณาจารย์ของคณะเภสัชศาสตร์มีโอกาสแนะนำการใช้ยาที่เหมาะสมแก่ประชาชน และหน่วยเครือข่ายเภสัชสนเทศของคณะเภสัชศาสตร์เป็นแม่ข่ายให้บริการสนับสนุนข้อมูลทางยาแก่โรงพยาบาลในทุกภูมิภาค รวมถึงหน่วยงานบริการด้านสาธารณสุขและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและประชาชนทั่วไป

นอกจากนี้ คณะเภสัชศาสตร์ จัดตั้งหน่วยพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งได้รับความเห็นชอบให้ขยายโครงการพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์พฤกษ์สมุนไพรไปในพื้นที่อำเภอหัวหินและอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการสร้างงานและผลิตภัณพ์จากพืชสมุนไพร

เว็บไซท์ http://www.pharm.su.ac.th






คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีการขยายการเรียนการสอนในสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยีวิศวกรรม มีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิดการขาดแคลนบุคลากรในสาขาดังกล่าว การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพมาช่วยเสริมในจุดนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในระยะยาวในการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
4 ปี
2 ปี
2 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญาบัณฑิต
วิทยาศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร
2. สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์
2. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
3. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
4. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
5. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

ระดับปริญญามหาบัณฑิต
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร
2. สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
1. สาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์
2. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
3. สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม

สีประจำคณะ สีแดงเข้ม

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมุ่งเน้นงานวิจัยในสาขาวิชาที่มีการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ จนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย และดำเนินงานบริการทางวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

งานวิจัยของสาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ เป็นงานวิจัยที่ผสมผสานความรู้ในหลากหลายสาขาเข้าด้วยกัน อาทิ การผลิตพอลิเมอร์ชนิดพิเศษสำหรับใช้กำจัดคาเฟอีนในกาแฟ การแปรรูปยาง การนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ การสังเคราะห์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ การวิเคราะห์สีและเส้นใย การปรับปรุงพัฒนาความสามารถในการยึดเกาะของวัสดุ การกำจัดคลอเรสเตอรอลในไข่และนม

งานวิจัยของสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร เช่น กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว การใช้วัตถุเจือปนอาหาร เทคนิคการวิเคราะห์อาหารจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์อาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ การใช้ประโยชน์จากมันสำปะหลัง รวมทั้งการแก้ไขปัญหาของโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร งานบริการวิชาการทางด้านระบบควบคุมคุณภาพและประกันคุณภาพอาหาร เช่น HACCP และ ISO 9000

งานวิจัยของสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นงานวิจัยที่สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาประเทศด้านอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค สิ่งแวดล้อม พลังงาน ผลิตภัณฑ์และกระบวนการชีวภาพใหม่ๆ

งานวิจัยของสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ เช่น การวิจัยทางด้านกระบวนการผลิต การบริหารการผลิต ต้นทุนอุตสาหกรรม ความปลอดภัยในอุตสาหกรรม การควบคุมคุณภาพและวิศวกรรมคุณภาพ การบริหารการซ่อมบำรุง การออกแบบเครื่องจักรกล และระบบฐานข้อมูลทางด้านต้นทุนการผลิตของเครื่องประดับของไทยในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม

งานวิจัยของสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีตัวเร่งปฏิกิริยา เทคโนโลยีการควบคุมกระบวนการ เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เทคโนโลยีการแยกมวลสาร เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีสะอาดและความปลอดภัย เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีทางด้านพลังงาน และนาโนเทคโนโลยี เป็นต้น

งานวิจัยของสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำฐานข้อมูล เพื่อการลงทุนของผู้ประกอบการขนาดย่อมและขนาดกลาง เป็นต้น

งานวิจัยของสาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม จะเน้นการนำทฤษฎีทางการจัดการมาผสมผสานกับทฤษฎีทางวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อประยุกต์ใช้ในหัวข้อวิจัย เช่น การบริหารความเสี่ยงของอุตสาหกรรม การบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านวิศวกรรม การบริหารงานโครงการด้านวิศวกรรม การศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนในโครงการภาครัฐและเอกชน เป็นต้น

เว็บไซท์ http://www.eng.su.ac.th






คณะดุริยางคศาสตร์
คณะดุริยางคศาสตร์เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 ภายใต้ชื่อ "โครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2542 นับเป็นคณะวิชาลำดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยศิลปากรมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตดุริยางคศาสตรบัณฑิตที่มีฝีมือเป็นเยี่ยมเทียบเท่าสากล มีความรัก ความเข้าใจ และสามารถเข้าถึงศิลปะการดนตรีได้อย่างลึกซึ้ง

ในปีแรกคณะดุริยางคศาสตร์เปิดสอนเพียงหลักสูตรเดียว คือ ดุริยางคศาสตรบัณฑิต ต่อมาในปีการศึกษา 2543 ได้เปิดสอนหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส เพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตร ปัจจุบัน คณะดุริยางคศาสตร์เปิดสอน 3 หลักสูตร

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
1. สาขาวิชาการแสดงดนตรี
2. สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส
3. สาขาวิชาดนตรีเชิงพาณิชย์

สีประจำคณะ สีชมพู

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะดุริยางคศาสตร์จัดกิจกรรมบริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างสม่ำเสมอในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การจัดฝึกอบรมประกอบการแสดงดนตรี การแสดงดนตรีทั้งของอาจารย์และนักศึกษา เพื่อเผยแพร่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน นอกจากนี้คณะดุริยางคศาสตร์มีนโยบายสนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ การเพิ่มทักษะความรู้และความสามารถก้าวสู่เวทีในระดับนานาชาติ ตลอดจนเพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงและความสามารถของคณะดุริยางคศาสตร์

เว็บไซท์ http://www.music.su.ac.th






คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
มหาวิทยาลัยศิลปากรมีนโยบายในการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาค จึงขยายเขตการศึกษาไปยังวิทยาเขตแห่งใหม่ที่จังหวัดเพชรบุรี ใช้ชื่อว่า วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี และจัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ขึ้นเป็นคณะแรก โดยจุดมุ่งหมายที่จะผลิตบุคลากรทางสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรที่มีพื้นฐานความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในระยะ 4 ภาคการศึกษาแรก และอีก 4 ภาคการศึกษาเน้นการเรียนรู้และการปฏิบัติไปสู่รายวิชาเฉพาะทาง รวมทั้งการฝึกทักษะการปฏิบัติงานให้เกิดความชำนาญในห้องปฏิบัติการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนเสริมสร้างประสบการณ์ในการทำงานในฟาร์มของเกษตรกร เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและเตรียมบัณฑิตให้มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อจบการศึกษา และสามารถที่จะประกอบอาชีพเป็นเจ้าของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ ตามแผนการเรียนที่จัดไว้ให้ในหลักสูตรอย่างผู้ที่มีความรู้ มีความพร้อมที่จะค้นคว้าและประยุกต์ใช้ความรู้แก้ปัญหาและปรับปรุงการทำงานอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2544 จำนวน 120 คน

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
1. สาขาวิชาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
2. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ
3. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
4. สาขาวิชาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์

สีประจำคณะ สีงาช้าง

การวิจัยและบริการทางวิชาการ

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรดำเนินโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคมหลายโครงการ อาทิ โครงการวิจัยในการเลี้ยงโคนมและนกกระจอกเทศ โครงการวิจัยนิเวศวิทยาในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน โครงการวิจัยทางสมุนไพรพืชอาหารสัตว์ ฯลฯ โครงการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการจัดการโคนมในระบบฟาร์มมาตรฐาน

เว็บไซท์ http://www.asat.su.ac.th






คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการเริ่มเปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เป็นคณะวิชาที่ 2 ของวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีและเป็นคณะวิชาลำดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต ระยะเวลาการศึกษา 4 ปี จำนวน 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการจัดการชุมชน รับนักศึกษาประมาณปีการศึกษาละ 300 คน คณะวิทยาการจัดการ จัดการเรียนเป็น 2 ระบบด้วยกัน คือ ระบบการเรียนในชั้นเรียนและระบบการเรียนทางไกล ผ่นระบบเครือข่ายสารสนเทศของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

นอกจากนี้ คณะวิทยาการจัดการยังเปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรต่อเนื่อง) ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี จำนวน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการจัดการชุมชน และสาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป

ปณิธานการศึกษา คือ สร้างสรรค์ปัญญา พัฒนาความรู้ เชิดชูจริยธรรม ผู้นำการปฏิบัติ

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)
ปริญญารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
2 ปี (หลักสูตรต่อเนื่อง)
4 ปี
4 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
ศิลปศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
1. สาขาวิชาการจัดการชุมชน
2. สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว
3. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป
หลักสูตรการศึกษา 2 ปี
1. สาขาวิชาการจัดการชุมชน
2. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป
บริหารธุรกิจบัณฑิต
1. สาขาวิชาการตลาด
2. สาขาวิชาการโรงแรมและที่พัก
3. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจและภาษาอังกฤษ
รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

สีประจำคณะ สีฟ้าน้ำทะเล

การวิจัยและบริการวิชาการ

คณะวิทยาการจัดการดำเนินวิจัยและการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เปิดสอนในคณะวิทยาการจัดการ ได้แก่ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการจัดการชุมชน

เว็บไซท์ http://www.management.su.ac.th






คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยศิลปากรได้จัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้น ในปีการศึกษา 2546 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในภูมิภาคตะวันตกของประเทศ อันจะทำให้บัณฑิตที่จบการศึกษา สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงาน พัฒนาความเจริญให้กับชุมชนท้องถิ่น และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนความก้าวหน้าทางธุรกิจได้ โดยเปิดรับนักศึกษาใน 2 สาขาวิชา คือสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ และได้กำหนดแผนการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไปอีกหลายสาขา ได้แก่ สาขาวิชาวิทยุโทรทัศน์ สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง สาขาวิชาภาพยนตร์และวิดีทัศน์ และสาขาวิชาภาพนิ่ง

ปณิธาน คือ สรรค์สร้างนวัตกรรมผู้นำการสื่อสาร บูรณาการเทคโนโลยี

หลักสูตรการศึกษา
ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
ปริญญานิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
4 ปี

สาขาวิชาที่เปิดสอน

ระดับปริญญาบัณฑิต
วิทยาศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ
2. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ
นิเทศศาสตรบัณฑิต
1. สาขาวิชานิเทศศาสตร์

สีประจำคณะ สีน้ำตาล

การวิจัยและบริการวิชาการ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีนโยบายในการวิจัย แต่คณะยังไม่ได้ดำเนินการ ส่วนการบริการวิชาการได้ดำเนินการในระดับหนึ่ง คือ ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่ติดต่อขอให้คณาจารย์ไปบรรยายและเป็นที่ปรึกษาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เว็บไซท์ http://www.ict.su.ac.th






วิทยาลัยนานาชาติ
เมื่อปี พ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยศิลปากรซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอันดับหนึ่งในห้าของประเทศไทย ได้จัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติขึ้นโดยมีจุดประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติเพื่อพัฒนาบัณฑิตซึ่งมีศักยภาพสู่ตลาดแรงงานซึ่งมีภาวะการแข่งขันสูงได้ ปัจจุบันวิทยานานาชาติเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ 3 หลักสูตร จัดการเรียนการสอน ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการโรงแรม (ปริญญาร่วมสองสถาบัน)

เป็นหลักสูตรร่วมระหว่างวิทยานานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันวาแตล ซึ่งได้รับการจัดอันดับเป็นสถาบันด้านการโรงแรมอันดับหนึ่งของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2546 นักศึกษาจะสามารถพัฒนาความรู้สู่ศักยภาพสูงสุดได้โดยการสอนอันมุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถนำทฤษฎีมาปรับใช้กับประสบการณ์จริงทั้งในสถานที่ปฏิบัติการของวิทยาเขตและในโรงแรมชั้นนำในบริเวณใกล้เคียง
ปีที่ศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
1 ทฤษฎีในประเทศไทย ฝึกงาน ในประเทศไทย
2 ทฤษฎีในประเทศไทย ฝึกงาน ในประเทศไทย
3 ทฤษฎีในประเทศไทย ฝึกงาน ในประเทศฝรั่งเศส
4 ทฤษฎีในประเทศไทย ฝึกงาน ในทวีปยุโรป

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาการออกแบบมัลติมีเดีย (ปริญญาร่วมสองสถาบัน)

เป็นหลักสูตรร่วมระหว่างวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันศิลปะและการออกแบบเบอร์มิ่งแฮม ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์รวมของการศึกษาด้านศิลปะการออกแบบและสารสนเทศชั้นนำของประเทศอังกฤษมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2386 จัดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากรและสถาบันศิลปะและการออกแบบเบอร์มิ่งแฮม และผู้เชี่ยวชาญในสาขาจากองค์กรต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการออกแบบมัลติมีเดีย ซึ่งรวมถึง การออกแบบสิ่งพิมพ์ ภาพประกอบ การถ่ายภาพ แอนิเมชั่น และภาพเคลื่อนไหว

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว (ปริญญาร่วมสองสถาบัน)

เป็นหลักสูตรซึ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ทักษะด้านการบริหารจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้บริหารธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยว โดยผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาร่วมจากมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวาแตล และมหาวิทยาลัยแปร์ปิญญอง ประเทศฝรั่งเศส
ปีที่ศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
1 ทฤษฎีในประเทศไทย ฝึกงาน ในประเทศไทย
2 ทฤษฎีในประเทศไทย ฝึกงาน ในประเทศฝรั่งเศส

สีประจำคณะ สีแดงสด

เว็บไซท์ http://www.suic.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น